ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 RMTS : การตัดบัญชีวัตถุดิบ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

การตัดบัญชีวัตถุดิบด้วยระบบ RMTS

    โครงการที่นำวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าตามมาตรา 36 จะต้องนำไปผลิตเป็นสินค้าตามบัตรส่งเสริม และส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. ส่งออกทางตรง
        หมายถึง การส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศ หรือเขตฟรีโซน ซึ่งจะมีหลักฐานการส่งออกตามแต่กรณีนั้นๆ
  2. ส่งออกทางอ้อม
        หมายถึง การส่งสินค้าไปจำหน่ายให้กับโรงงานหรือบริษัทตัวกลาง เพื่อนำไปผลิตหรือจัดการส่งออกต่างประเทศ หรือเขตฟรีโซน ซึ่งกรณีผู้ที่จำหน่ายรายแรกจะไม่มีหลักฐานการส่งออก

    เมื่อผู้ได้รับส่งเสริมผลิตสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศ (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) จะต้องนำหลักฐานมาตัดบัญชีวัตถุดิบ เพื่อลดยอดปริมาณวัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยยกเว้นภาษีอากร โดยแบ่งการตัดบัญชีออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. การตัดบัญชีทางตรงแบบไม่มี Vendor
        คือการที่บริษัทนำวัตถุดิบเข้ามาเอง และผลิตส่งออกโดยตรง ดังนั้น จึงจะตัดบัญชีวัตถุดิบของตนเองเท่านั้น
  2. การตัดบัญชีทางตรงแบบมี Vendor
        คือการที่บริษัทซื้อวัตถุดิบบางส่วนหรือทั้งหมดมาจากผู้ขาย (Vendor) ในประเทศที่ได้รับสิทธิ BOI แล้วนำมาผลิตส่งออกโดยตรง ดังนั้น จึงจะต้องตัดบัญชีพร้อมกับโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับ Vendor รายนั้นด้วย
  3. การตัดบัญชีทางอ้อมแบบไม่มี Vendor
        คือการที่บริษัทนำวัตถุดิบเข้ามาเอง แล้วผลิตจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการในประเทศที่ได้รับสิทธิ BOI เพื่อส่งออกทางอ้อม ดังนั้น บริษัทจะต้องรับใบโอนสิทธิตัดบัญชี (Report-V) จากผู้ส่งออกมาตัดบัญชีวัตถุดิบของตนเองต่อไป
  4. การตัดบัญชีทางอ้อมแบบมี Vendor
        คือการที่บริษัทซื้อวัตถุดิบบางส่วนหรือทั้งหมดจากผู้ขาย (Vendor) ในประเทศที่ได้รับสิทธิ BOI แล้วนำมาผลิตจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการในประเทศที่ได้รับสิทธิ BOI เพื่อส่งออกทางอ้อม ดังนั้น บริษัทจะต้องรับใบโอนสิทธิตัดบัญชี (Report-V) จากผู้ส่งออกมาตัดบัญชี พร้อมกับโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับ Vendor อีกทอดหนึ่งต่อไป


การเตรียมข้อมูลเพื่อตัดบัญชี

  1. การตัดบัญชีแบบไม่มี Vendor
    เตรียมไฟล์ข้อมูลประกอบด้วย
    • Birtexp.xls คือ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่งออก
    • Birtexl.xls คือรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสืออนุมัติ
  2. การตัดบัญชีแบบมี Vendor
    • Birtexp.xls คือ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่งออก
    • Birtexl.xls คือรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสืออนุมัติ
    • Birtven.xls คือ รายละเอียดเกี่ยวกับการโอนวัตถุดิบ และชื่อผู้รับโอนวัตถุดิบ (Report-V)

ข้อกำหนดเกี่ยวกับไฟล์แต่ละชนิด

ไฟล์ Birtexp.xls

ชื่อ Fieldประเภทความยาวคำอธิบาย
Proj_Codeตัวอักษร8รหัสโครงการ / ต้องเหมือนกันทุกบรรทัด
Doc_Noตัวอักษร8งวดที่ยื่นขออนุมัติ
ต้องไม่ซ้ำกับงวดที่เคยขออนุมัติแล้ว
Exp_Entryตัวอักษร15เลขที่ใบขนขาออก หรือเอกสารโอนสิทธิ
ต้องไม่ซ้ำกับเลขที่เคยตัดบัญชีแล้ว
หากซ้ำ ต้องยกเลิกของเก่าก่อน
Exp_Dateวันที่
DD/MM/YYYY
10วันที่ส่งออก (วันที่รับบรรทุก)
เช่น 25/03/2013
Modelตัวอักษร50ชื่อรุ่นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่ต้องการตัดบัญชี
Model_Descตัวอักษร254ชื่อผลิตภัณฑ์ส่งออกที่ต้องการตัดบัญชี
ต้องตรงกับในฐานข้อมูล
Qtyตัวเลข20 หลัก และ
8 ทศนิยม
ปริมาณที่ขอตัดบัญชีของผลิตภัณฑ์แต่ละโมเดล
Uopตัวอักษร3หน่วยของสินค้าที่ส่งออก
ต้องตรงกับในฐานข้อมูล
Revisionตัวอักษร3เวอร์ชั่นของสูตรที่ต้องการใช้ตัดบัญชี เช่น 1, 2, ..
หากวันที่ส่งออกเป็นวันที่สูตรมีผลใช้งาน จะคีย์เป็นค่าว่างก็ได้ โดยระบบจะดึงสูตรเวอร์ชั่นที่มีผลใช้งานในวันที่ส่งออกมาใช้ตัดบัญชี
แต่หากต้องการตัดบัญชีด้วยสูตรเวอร์ชั่นที่ไม่ตรงกับวันที่ส่งออก จะต้องคีย์เวอร์ชั่นด้วย


ไฟล์ Birtexl.xls

ชื่อ Fieldประเภทความยาวคำอธิบาย
Proj_Codeตัวอักษร8รหัสโครงการ / ต้องเหมือนกันทุกบรรทัด
Doc_Noตัวอักษร8งวดที่ยื่นขออนุมัติ / ต้องตรงกับในไฟล์ Birtexp
Let_Noตัวอักษร25เลขที่หนังสือบริษัทที่ยื่นขอตัดบัญชี (ไม่เป็นค่าว่าง)
Let_Dateวันที่
DD/MM/YYYY
10วันที่หนังสือบริษัทที่ยื่นขอตัดบัญชี
Exp_Amtตัวอักษร4จำนวนใบขนที่ยื่นขออนุมัติตัดบัญชีในงวดนั้น
เป็นค่าว่างได้
ต้องเท่ากับจำนวนใบขนในไฟล์ Birtexp
Ven_Amtตัวอักษร4จำนวนเอกสารโอนสิทธิที่ยื่นขอตัดบัญชีในงวดนั้น
เป็นค่าว่างได้
ต้องเท่ากับจำนวนเอกสารโอนสิทธิ์ในไฟล์ Birtexp
Cancelตัวอักษร1เป็นการยกเลิกคำร้องเก่าเพื่อยื่นตัดบัญชีใหม่หรือไม่

Y : ใช่

N หรือ ค่าว่าง : ไม่ใช่
App_Noตัวอักษร19เลขที่ อก. ของหนังสืออนุมัติฉบับเดิมที่ต้องการยกเลิก
ระบุเฉพาะกรณีที่ Cancel เป็น Y
App_Dateวันที่
DD/MM/YYYY
10วันที่ของหนังสืออนุมัติฉบับเดิมที่ต้องการยกเลิก
ระบุเฉพาะกรณีที่ Cancel เป็น Y


ไฟล์ Birtven.xls

ชื่อ Fieldประเภทความยาวคำอธิบาย
Proj_Codeตัวอักษร8รหัสโครงการ / ต้องเหมือนกันทุกบรรทัด
Doc_Noตัวอักษร8งวดที่ยื่นขออนุมัติ / ต้องตรงกับในไฟล์ Birtexp
Grp_Noตัวอักษร6หมายเลขกลุ่มวัตถุดิบที่ต้องการโอนสิทธิตัดบัญชี
Ven_Nameตัวอักษร80ชื่อบริษัท Vendor ที่ต้องการโอนสิทธิให้
Ven_IDตัวอักษร13เลขที่นิติบุคคลของ Vendor
เป็นค่าว่างได้ หาก Ven_Type เป็นค่าว่าง
Ven_Typeตัวอักษร1ประเภทของ Vendor

B : Vendor เป็น BOI

ค่าว่าง : Vendor ไม่ใช่ BOI
Ven_Qtyตัวเลข20 หลัก และ
8 ทศนิยม
ปริมาณที่ต้องการโอนสิทธิให้ Vendor ซึ่งต้องไม่เกินปริมาณที่ตัดบัญชีได้
Ven_Modelตัวอักษร50Model ที่ตรงกับของ Vendor
เป็นค่าว่างได้ หาก Ven_Type เป็นค่าว่าง


ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล

ไฟล์ Birtexp.xls

Proj_CodeDoc_noExp_EntryExp_DateModelModel_DescQtyUOPRevision
1234561100001A003055020000915/02/2013MIT01Cover Plate100SET 
1234561100001A003055020000915/02/2013MIT02Cover Plate200SET 
123456110000113-V-000001 30/12/2013MIT02Cover Plate200SET 


ไฟล์ Birtexl.xls

Proj_CodeDoc_noLet_NoLet_DateExp_amt Ven_AmtCancelApp_NoApp_Date
12345611000011/255620/02/201311   
12345611000022/255625/02/201311Y0907R55011234567817/02/2013


ไฟล์ Birtven.xls

Proj_CodeDoc_NoGrp_NoVen_NameVen_IDVen_TypeVen_QtyVen_Model
1234561100001000001ABC Precision1234567890123B200CTX00001
1234561100001000001XYZ Industry  300 


การบันทึกข้อมูล

  1. การยื่นตัดบัญชีโดยไม่มีการโอนสิทธิให้ Vendor ไม่ต้องยื่นไฟล์ Birtven.xls
  2. ชุดไฟล์ข้อมูล 1 ชุด (Birtexp.xls, Birtexl.xls, Birtven.xls) สามารถตัดบัญชีได้หลายใบขน
  3. หากต้องการบันทึกไฟล์ข้อมูลมากกว่า 1 ชุด ใน Flash Drive เดียวกัน ให้บันทึกเลขที่ต่อท้าย คือ
    Birtexp_1.xls, Birtexl_1.xls, Birtven_1.xls
    Birtexp_2.xls, Birtexl_2.xls, Birtven_2.xls เป็นต้น

เอกสารประกอบการตัดบัญชี

  1. หนังสือขออนุมัติตัดบัญชี (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มตัดบัญชีวัตถุดิบ)
  2. ใบขนสินค้าขาออก หรือเอกสารการโอนสิทธิ (Report-V)
  3. อินวอยซ์ขาออก (กรณีใบขนไม่ชัดเจน)
  4. เอกสารอื่นๆ เช่น หนังสือชี้แจง และหนังสือรับรองต่างๆ
    * เอกสารข้างต้นใช้อย่างละ 1 ฉบับ โดยจะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้ได้รับมอบอำนาจลงนามและประทับตราบริษัททุกฉบับ


ประเด็นที่จะต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง

  1. ชื่อบริษัทผู้ส่งออก และชื่อผู้รับโอนสิทธิ
  2. เลขที่ใบขนสินค้าขาออก หรือเอกสารการโอนสิทธิ (Report-V)
  3. ชื่อผลิตภัณฑ์และสูตรการผลิต
  4. ปริมาณและหน่วยของสินค้า
  5. รูปแบบของใบขนสินค้าขาออกแบบ Paperless ครบถ้วนถูกต้อง คือ
    1. ระบุชื่อผู้ส่งออกชัดเจน
    2. มีวันที่ส่งออก คือ วันที่ Load ที่ระบุด้านหลังใบขน
    3. มีข้อความ "ขอรับรองข้อมูลถูกต้อง" ระบุท้ายใบขน
    4. หากมีการระบุ Status ในใบขน จะต้องเป็น 04,0409 เท่านั้น
    5. ระบุชื่อผลิตภัณฑ์ และสูตรการผลิตที่ส่งออกไว้ชัดเจน ตรงตามที่ขออนุมัติไว้กับ BOI
    6. ระบุปริมาณและหน่วยส่งออกถูกต้องชัดเจน
  6. ลายมือชื่อผู้ลงนามรับรอง และตราประทับของบริษัท
  7. ประเภทของใบขนสินค้าขาออก และสิทธิประโยชน์
  8. การระบุข้อความโอนสิทธิ ต้องตรงตามรายชื่อและจำนวนใน Report-V

การตัดบัญชีโอนสิทธิ

  1. การโอนสิทธิในรูปใบขนสินค้าขาออก
        ผู้ส่งออกต้องจัดทำใบขนโดยระบุข้อความการโอนสิทธิให้ชัดเจน ดังนี้ "ขอโอนสิทธิการตัดบัญชีให้แก่บริษัท ............................... ปริมาณ ............... หน่่วย ............. Model ............." ซึ่งปกติจะเป็นการโอนสิทธิใบขนสินค้าขาออกทั้งฉบับ หรือทั้งรายการ
        และหากมี Vendor ที่ต้องโอนสิทธิให้หลายราย ผู้ส่งออกสามารถทำหนังสือรับรองแนบเรื่องเพื่อประกอบการตัดบัญชีก็ได้

  2. การโอนสิทธิในรูปเอกสารโอนสิทธิ (Report-V)
        ผู้ส่งออกต้องนำใบขนสินค้าขาออกมาตัดบัญชี โดยป้อนข้อมูลทั้ง 3 ไฟล์ คือ Birtexp.xls, Birtexl.xls และ Birtven.xls จากนั้นต้องแจกจ่าย Report-V ให้แก่ Vendor แต่ละราย โดยผู้โอนจะต้องระบุรายชื่อ Vendor ในส่วนหมายเหตุท้ายหนังสือขออนุมัติตัดบัญชี ให้ตรงกับชื่อและจำนวนของ Vendor ที่ต้องการโอน

วิธีการยื่นข้อมูลขอตัดบัญชี

  1. บันทึกข้อมูลโดยส่งผ่านระบบ Online หรือบันทึกข้อมูลใน Flash Drive / Diskette แล้วนำมายื่นที่เคาน์เตอร์ตัดบัญชี
  2. เอกสารตัวจริงที่ใช้ประกอบการตัดบัญชี ที่มีการลงนามโดยผู้มีอำนาจและประทับตรารับรองทุกหน้า
  3. เมื่อยื่นเรื่องแล้ว สามารถตรวจสอบสถานะของเอกสารจากระบบ Online


ข้อควรรู้ในการตัดบัญชี

  1. การตัดบัญชี 1 ใบขน หลายโครงการ
    1. ใช้ใบขนสินค้าขาออก หรือเอกสารการโอนสิทธิ 1 ชุด
    2. ต้องเตรียมหนังสือขออนุมัติตามจำนวนโครงการ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าเป็นการตัดบัญชีกี่โครงการ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
    3. สร้างไฟล์ข้อมูลตามจำนวนโครงการ เช่น ถ้าตัดบัญชี 2 โครงการ ก็ต้องบันทึกข้อมูลเป็น 2 ไฟล์ เช่น Birtexp_1.xls และ Birtexp_2.xls เป็นต้น
    4. ควรยื่นตัดบัญชีให้แล้วเสร็จในคราวเดียวกัน
    5. แจ้งพนักงานประมวลผลของสมาคม IC ทุกครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด

  2. หน่วยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับโอน ไม่ตรงกับหน่วยของผู้รับโอน
    1. ให้ผู้โอนทำหนังสือรับรองหน่วยให้กับผู้รับโอน พร้อมลงนามโดยผู้มีอำนาจและประทับตราบริษัท หรือ
    2. ให้ผู้รับโอนทำการรับรองหน่วยได้ด้วยตนเอง
    3. หลังจากสมาคม IC ได้รับเรื่อง จะส่งให้ BOI พิจารณาอนุมัติก่อน จึงจะดำเนินการตัดบัญชีให้

  3. Model ที่ได้รับโอน ไม่ตรงกับ Model ในฐานข้อมูลของผู้รับโอน
    1. หากโอนสิทธิโดยระบุชื่อผลิตภัณฑ์ของผู้รับโอนในไฟล์ Birtven.xls ให้ผู้โอนทำหนังสือรับรองชื่อรุ่นผลิตภัณฑ์นั้น โดยสมาคม IC จะส่งเรื่องให้ BOI พิจารณาอนุมัติก่อน จึงจะตัดบัญชีให้
    2. หากผู้โอนระบุชื่อผลิตภัณฑ์ (Model) ไม่ถูกต้อง ให้แก้ไขในเอกสาร คือ Report-V และ VL ให้ถูกต้องก่อนนำไปให้ผู้รับโอน

  4. สูตรการผลิตในเอกสารการส่งออก ไม่ตรงกับฐานข้อมูล
    1. ขอแก้ไขใบขนสินค้าขาออกกับกรมศุลกากร โดย
      1. ยื่นคำร้องขอแก้ไขต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ณ ด่านที่ทำการตรวจปล่อย
      2. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทำการแก้ไขข้อมูลในระบบ และทำการพิมพ์ใบขนฉบับที่แก้ไข
      3. ลงนามกำกับในใบขนที่มีการแก้ไขทุกครั้ง
      หรือ
    2. ทำหนังสือรับรอง โดย
      1. บริษัททำหนังสือรับรองชื่อสูตรการผลิต พร้อมลงนามและประทับตราบริษัท
      2. สมาคม IC จะส่งเรื่องให้ BOI พิจารณาอนุมัติก่อน จึงจะดำเนินการตัดบัญชีให้

  5. ข้อมูลที่ผู้รับโอนสิทธิจะต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง
    1. ชื่อบริษัท (Co.,Ltd.), (Company Ltd.), (Company Limited)
    2. Type (BOI)
    3. Model ปริมาณ และหน่วย ที่ได้รับโอน

  6. ใบขนขาออกระบุรายละเอียดการส่งออกไม่ชัดเจน
    1. หากใบขนขาออกระบุเพียงชื่อผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ได้ระบุสูตรการผลิตที่ส่งออก บริษัทต้องแนบอินวอยซ์ขาออกฉบับผ่านพิธีการที่ระบุ Model ส่งออกให้ชัดเจน

  7. ชื่อ Model เกินกว่า 50 ตัวอักษร
    1. บริษัทยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อขออนุมัติใช้ชื่อย่อของชื่อรุ่น (Model)
    2. แก้ไขข้อมูลที่แผนกบริการฐานข้อมูลของสมาคม IC
    3. ในการตัดบัญชี ให้แนบสำเนาหนังสืออนุมัติของ BOI ด้วยทุกครั้ง หรือสำเนาให้แผนกตัดบัญชีของสมาคม IC เก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานตรวจสอบ 1 ฉบับ และให้บริษัทระบุหมายเหตุในหนังสือขออนุมัติว่า "บริษัทได้นำส่งสำเนาไว้ที่แผนกตัดบัญชีแล้ว"

  8. เอกสารติดปัญหา ซึ่งต้องทำการยกเลิก
    1. ปริมาณการส่งออกไม่ถูกต้อง
    2. สูตรการผลิตไม่ถูกต้อง

  9. เอกสารติดปัญหา ซึ่งสามารถขอแก้ไขได้
    1. กรณีที่ชื่อ Vendor Name หรือ Vendor Model ไม่ถูกต้อง สามารถแก้ไขได้โดย
      1. ทำหนังสือขอแก้ไขชื่อ Vendor Name หรือ Vendor Model (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม, ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
      2. เอกสารที่ขอแก้ไข ได้แก่ Report_V, Report_VL (ต้นฉบับ) โดยพิมพ์เครื่องหมาย ////// ทับชื่อ หรือข้อความที่ไม่ถูกต้อง และพิมพ์ชื่อหรือข้อความที่ถูกต้องแทน
      3. แนบเอกสารการซื้อขายประกอบการพิจารณา
    2. กรณีพิมพ์เลขที่ใบขนหรือเอกสารการโอนสิทธิ ไม่ถูกต้อง สามารถแก้ไขได้โดย
      1. ทำหนังสือขอแก้ไขเลขที่ใบขนหรือเอกสารโอนสิทธิ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
      2. เอกสารที่ขอแก้ไข ได้แก่ Report_S, Report_T, Report_U (ต้นฉบับ) โดยพิมพ์เครื่องหมาย ////// ทับชื่อ หรือข้อความที่ไม่ถูกต้อง และพิมพ์ชื่อหรือข้อความที่ถูกต้องแทน
      3. แนบเอกสารตัดบัญชีทั้งฉบับ

  10. เอกสารตัดบัญชีสูญหาย
    สามารถขอรับรองสำเนา โดยใช้เอกสารดังนี้
    1. หนังสือบริษัทเรื่องขอรับรองเอกสารการตัดบัญชีวัตถุดิบ
    2. ใบแจ้งความเอกสารฉบับจริงสูญหาย
    3. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจเพื่อกระทำการแทนบริษัท
    4. ยื่นเอกสารที่งานธุรการของสมาคม IC โดยใช้เวลาดำเนินการ 3 วันทำการ


ข้อควรรู้อื่นๆ

  1. ก่อนการส่งออก จะต้องขออนุมัติสูตรจาก BOI และบันทึกผลการอนุมัติที่สมาคม IC ก่อน
  2. การตัดบัญชีโดยเลือกใช้ Revision ของสูตรการผลิตที่นอกเหนือจากค่า default จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน
  3. ไม่สามารถตัดบัญชีให้ยอดคงเหลือ (Balance) ติดลบ
    หากจะเกิดยอดติดลบ ให้ตรวจสอบว่ามีการซื้อในประเทศจากบริษัทที่ไม่ต้องใช้สิทธิตัดบัญชี (Vendor ประเภท Local) หรือไม่
    หากมี ให้บันทึก Ven_Type เป็นค่าว่าง ซึ่งระบบจะบันทึกปริมาณยอดคงเหลือติดลบที่โอนให้ Vendor ประเภท Local นี้ไว้เพื่อตรวจสอบในภายหลัง
  4. การเตรียมไฟล์ข้อมูล ต้องตั้งชื่อ Field Name ให้ถูกต้องตามกำหนดในระบบ
  5. ต้องระบุเลขทะเบียนนิติบุคคลของ Vendor (Vendor_ID) ให้ถูกต้อง
  6. เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ต้องมาติดต่อรับหนังสืออนุมัติภายใน 30 วัน มิฉะนั้น สมาคม IC จะส่งเอกสารไปยังบริษัททางไปรษณีย์ โดยหักค่าส่งจากค่าใช้บริการในสิ้นเดือนนั้นๆ
  7. ต้องนำใบขนขาออกหรือเอกสารโอนสิทธิมาตัดบัญชีภายใน 1 ปี นับจากวันที่ส่งออก

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 43,928
Total pageviews 4,000,254 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.