ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 วัตถุดิบ มาตรา 36 : ระยะเวลานำเข้า และการขยายเวลา

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

อัพเดตวันที่ 1 เมษายน 2563

วันที่เริ่มใช้สิทธิ์ครั้งแรก

      โครงการที่ยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นตามมาตรา 36 เป็นเวลา 1 ปี ตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2557 และจะให้ขยายเวลาได้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.8/2561

      การนับวันที่เริ่มใช้สิทธิ์ครั้งแรก กำหนดแนวทางไว้ดังนี้

  • ให้นับวันเรือเข้า ของวัตถุดิบที่บริษัทประสงค์จะใช้สิทธิ์การยกเว้นภาษีอากรงวดแรก เป็นวันนำเข้าครั้งแรก
          เช่น หากบริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีอากรวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นเวลา 1 ปี และต้องการใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีงวดแรกสำหรับวัตถุดิบซึ่งเรือเข้าถึงท่าเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 ระยะเวลาการนำเข้าวัตถุดิบก็จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2558
  • วันนำเข้าครั้งแรก จะต้องไม่ย้อนไปก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม

การขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ

      โครงการที่สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ สามารถยื่นขอขยายระยะเวลานำเข้าได้ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.5/2562 ดังนี้

  1. ต้องยื่นคำขอขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่าน ระบบขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบ Online
  2. สามารถยื่นคำขอขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนสิ้นสุดระยะเวลานำเข้า แต่ต้อง ไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ ตามมาตรา 36

หลักเกณฑ์การพิจารณาการขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ

      การขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ กำหนดแนวทางพิจารณาตาม ประกาศ สกท ที่ ป.6/2561 ดังนี้

  1. จะอนุมัติขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบให้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี
  2. จะต้องดำเนินการตัดบัญชีวัตถุดิบสำหรับใบขนสินค้าขาออกที่ได้ส่งออกไปแล้วเกิน 1 ปี นับถึงวันยื่นคำขอขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะได้รับอนุมัติขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ
         กรณีไม่ดำเนินการตัดบัญชีวัตถุดิบสำหรับใบขนสินค้าขาออกที่ได้ส่งออกไปแล้วเกิน 1 ปี ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ยื่นคำขอขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ จะไม่ได้รับอนุมัติการขอขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ

การขอรับสิทธิประโยชน์มาตรา 36 เพิ่มเติม กรณีไม่ได้ยื่นขยายเวลานำเข้าภายใน 6 เดือนนับจากระยะเวลานำเข้าเดิมสิ้นสุดลง

      กรณีสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36 สิ้นสุดลง และบริษัทไม่ยื่นขอขยายเวลานำเข้าภายใน 6 เดือนนับจากวันสิ้นสุดสิทธิเดิม จะต้องดำเนินการ ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.8/2561 ดังนี้

  1. จะต้องยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์มาตรา 36 เพิ่มเติม ภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดสิทธิมาตรา 36
  2. จะต้องดำเนินการตัดบัญชีวัตถุดิบ สำหรับใบขนสินค้าขาออกที่ได้ส่งออกไปแล้วเกิน 1 ปี นับถึงวันยื่นขอสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมให้แล้วเสร็จก่อน จึงจะได้รับการพิจารณาให้สิทธิและประโยชน์มาตรา 36 เพิ่มเติม
  3. กรณีไม่ดำเนินการตัดบัญชีวัตถุดิบสำหรับใบขนขาออกที่เกิน 1 ปีให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ยื่นคำขอสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม จะไม่ได้รับอนุมัติให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม
  4. จะพิจารณาให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36 เพิ่มเติมไม่เกิน 1 ปี

การดำเนินการเมื่อสิทธิประโยชน์มาตรา 36 สิ้นสุดลง

      กรณีสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36 สิ้นสุดลง และบริษัทไม่ยื่นขอขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบตามระยะเวลาที่กำหนด จะต้องดำเนินการ ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.8/2561 ดังนี้

  1. จะต้องตัดบัญชีวัตถุดิบให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36
  2. กรณีมียอดวัตถุดิบคงเหลือ จะต้องชำระอากรขาเข้าวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนำเข้า พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

      ทั้งนี้ เมื่อสิทธิประโยชน์มาตรา 36 สิ้นสุดลงเกินกว่า 2 ปี และเข้าสู่กระบวนการชำระภาษีอากรวัตถุดิบคงเหลือแล้ว บริษัทจะยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36 ใหม่อีกครั้งหนึ่งก็ได้ โดยจะได้รับอนุมัติบัญชีปริมาณสต๊อกวัตถุดิบเป็นรหัสบัญชีใหม่ แต่จะไม่สามารถโอนวัตถุดิบคงเหลือในรหัสบัญชีเดิม (ซึ่งอยู่ในกระบวนการชำระภาษี) มายังรหัสโครงการใหม่ได้


หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 42,076
Total pageviews 4,000,049 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.