ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 ภาษีเงินได้นิติบุคคล : ภาพรวม

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

      โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน อาจได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล อาทิ เช่น

-ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่เกิน 8 ปี
-ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ไม่เกิน 5 ปี
-ยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผล
-ให้นำผลขาดทุนไปหักจากกำไรสุทธิหลักจากสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
-การให้หักค่าสาธารณูปโภคในอัตรา 2 เท่าของค่าใช้จ่ายจริง
-การให้หักค่าก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในอัตรา 125% ของค่าใช้จ่ายจริง

      ในการใช้สิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องแยกทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของแต่ละโครงการ ไม่ว่าจะได้รับส่งเสริมหรือไม่รับส่งเสริมก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการคำนวณรายได้และกำไรสุทธิของแต่ละโครงการที่จะใช้สิทธิประโยชน์ให้มีความถูกต้องชัดเจน
      หากผู้ได้รับส่งเสริมไม่แยกลงบัญชีของแต่ละโครงการ จะไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

โครงการที่ได้รับส่งเสริมหลังจาก ปี พ.ศ. 2543 จะมีเงื่อนไขกำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นมูลค่าสูงสุดไม่เกินขนาดการลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
      แต่หากเป็นโครงการที่มีประโยชน์และสำคัญต่อประเทศ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้โดยไม่กำหนดวงเงินการยกเว้นภาษี

ในการใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้ ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
      กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมปฏิบัติผิดเงื่อนไข คณะกรรมการสามารถเพิกถอนสิทธิประโยชน์ย้อนหลัง และผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องชำระภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้น พร้อมเงินเพิ่ม เบี้ยปรับ ตามที่กฎหมายกำหนด

คำถามน่ารู้

Q : บริษัทเริ่มมีรายได้ก่อนที่จะได้รับบัตรส่งเสริม รายได้ดังกล่าวจะสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ได้หรือไม่?
A : ได้ แต่ต้องเป็นรายได้ที่ไม่เกิดก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม และจะยื่นขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ภายหลังจากที่ได้รับบัตรส่งเสริมแล้วเท่านั้น

Q : บริษัทจำหน่ายสินค้าตามบัตรส่งเสริม แต่ได้ให้บริการติตตั้งสินค้าให้กับลูกค้าด้วย รายได้จากค่าให้บริการดังกล่าว สามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 ได้หรือไม่?
A : ไม่ได้ เนื่องจากไม่เป็นรายได้ตามชนิดผลิตภัณฑ์ที่ระบุในบัตรส่งเสริม

Q : รายได้จากการจำหน่ายเครื่องจักร และทรัพย์สินอื่นๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม สามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 ได้หรือไม่?
A : ได้

Q : รายได้จากการปริวรรตเงินตรา (กำไรค่าอัตราแลกเปลี่ยน) สามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 ได้หรือไม่?
A : ได้

Q : บริษัทประกอบกิจการทั้งส่วนที่ได้รับส่งเสริมและไม่ได้รับส่งเสริม จะต้องเฉลี่ยรายจ่ายเพื่อคำนวณต้นทุนการประกอบกิจการในแต่ละส่วนอย่างไร?
A : เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางบัญชี เช่น ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจน ให้ใช้วิธีปันต้นทุนค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนรายได้ของแต่ละกิจการ เป็นต้น

Q : การรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันกับที่ได้รับส่งเสริม สามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 ได้หรือไม่?
A : ได้ แต่ต้องมีกรรมวิธีการผลิตครบถ้วนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม

Q : บริษัทได้รับส่งเสริม 2 โครงการ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน โดยโครงการแรกสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว แต่โครงการที่สองยังได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ จะลงบัญชีแยกรายได้เพื่อขอใช้สิทธิอย่างไร?
A : จะต้องแยกลงบัญชีโครงการที่สิ้นสุดสิทธิประโยชน์ไปแล้ว ในลักษณะเดียวกับโครงการที่ไม่ได้รับส่งเสริม

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 16,487
Total pageviews 4,000,970 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.