ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 คำถามคำตอบ IC Call Center  : งานเครื่องจักร
   เครื่องจักร | สั่งปล่อยวัตถุดิบ | ตัดบัญชีวัตถุดิบ | ฐานข้อมูลวัตถุดิบ | ฝึกอบรมสัมมนา | ลงทะเบียนฝึกอบรม | บัญชี/การเงิน

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ถาม 1 : บริษัทต้องทราบข้อมูลอะไรบ้างในการเตรียมข้อมูลเพื่อขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร
ตอบ1. ต้องทราบขั้นการผลิตของบริษัทว่าเป็นแบบใด
2. ต้องทราบว่าเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการอยู่ใน Process อะไรเพื่อผูกกับขั้นตอนการผลิต
3. แผนผังโรงงานเป็นอย่างไร (Plant Layout)
4. มีการนำเข้าเครื่องจักรเก่าเข้ามาหรือไม่ ถ้ามีจะต้องเตรียมเรื่องใบรับรองประสิทธิภาพของเครื่องจักร
5. ต้องเป็นเครื่องจักรที่ไม่มีผลิตหรือประกอบได้ในราชอาณาจักร


ถาม 2 : Master List ประกอบด้วยบัญชีอะไรบ้าง และมีหลักเกณฑ์ในการคัดแยกบัญชีอย่างไร
ตอบ1. บัญชีรายการเครื่องจักรทั่วไป หมายถึง รายการเครื่องจักรทั้งหมดที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริม รวมทั้งเครื่องมือและเครื่องใช้ (Implement)
2. บัญชีอะไหล่ หมายถึง ชิ้นส่วนต่างๆ รวมทั้งส่วนประกอบ (Part and Component) และอุปกรณ์ (Accessory) ที่นำมาเปลี่ยนทดแทนส่วนที่ชำรุดเสียหายภายในตัวเครื่องจักร
3. บัญชีแม่พิมพ์ หมายถึง รายการแม่พิมพ์ (Mold, Die) ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ และอะไหล่ของแม่พิมพ์ รวมถึง อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน (Jig ,Fixture and Pattern)


ถาม 3 : บริษัทจะทราบได้อย่างไรว่ารายการเครื่องจักรใดบ้างที่มีผลิตในประเทศ และหากรายการดังกล่าวมีผลิตในประเทศควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ1. สำหรับรายการเครื่องจักรที่มีผลิตในประเทศ (Negative List) สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากประกาศ ของสำนักงานที่ ป.2/2556 ลงวันที่ 15 มกราคม 2556
2. หากบริษัทต้องการยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรซึ่งมีชื่อตรงกับรายการที่มีผลิตในประเทศ (Negative List) ต้องแนบ Specification (ไฟล์ PDF ไม่เกิน 3 MB) ในระบบด้วย


ถาม 4 : ระยะเวลาในการอนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรแต่ละประเภทเป็นอย่างไร
ตอบ1. บัญชีรายการเครื่องจักรทั่วไป (บัญชีครั้งแรก) พิจารณาอนุมัติภายใน 60 วันทำการ
2. บัญชีรายการเครื่องจักรแก้ไข (เพิ่มรายการ / เพิ่มจำนวน / ลดจำนวน / แก้ไขอื่นๆ) พิจารณาอนุมัติ ภายใน 30 วันทำการ
3. บัญชีรายการเครื่องจักรชื่อรอง / อะไหล่ / แม่พิมพ์ พิจารณาอนุมัติภายใน 1 วันทำการ


ถาม 5 : ถ้าบัญชีรายการเครื่องจักรชื่อรอง / อะไหล่ / แม่พิมพ์ ที่ยื่นขออนุมัติให้กับเจ้าหน้าที่สำนักงานที่พิจารณาอนุมัติ ที่สมาคมไม่ได้รับการอนุมัติ บริษัทสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
ตอบบริษัทต้องดำเนินการขออนุมัติบัญชีอุทธรณ์ ชื่อรอง / อะไหล่ / แม่พิมพ์ (เมนูการขออุทธรณ์ต่างๆ) คำร้องจะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่สำนักงาน (BOI) ตามสำนักบริหารการลงทุนที่บริษัทสังกัด และผ่านการพิจารณาอนุมัติ 3 ระดับ โดยจะได้รับการอนุมัติภายใน 30 วันทำการ

ถาม 6 : ถ้าบริษัทไม่มีเครื่องจักรนำเข้ามาใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมเป็นกิจการที่รับจ้างผลิต มีแต่แม่พิมพ์เท่านั้นต้องขออนุมัติบัญชีแม่พิมพ์อย่างไร
ตอบให้ระบุชื่อเครื่องจักรของบริษัทที่ว่าจ้างผลิตมา 1 รายการ ระบุจำนวนเป็น 0.5 SET และผูกความสัมพันธ์กับขั้นตอนการผลิตของโครงการ

ถาม 7 : กรณีนำเข้าเครื่องจักรในลักษณะ Partial Shipment ให้ระบุรายการนำเข้าเป็นแบบ BOM (Bill of Material) โดยชื่อเครื่องจักรที่ระบุใน BOM จะเป็นชื่อที่ถูกสั่งปล่อยตามอินวอยซ์ใช่หรือไม่
ตอบกรณีนำเข้าเครื่องจักรที่มีการนำเข้าหลายครั้งในลักษณะ Partial Shipment เพื่อนำมาประกอบเป็นเครื่องจักร Complete set สามารถยื่นขอหลายเครื่องได้ในรายการเดียวกัน (ชื่อรายการใน Bom ต้องตรงกับอินวอยซ์)
ตัวอย่างเช่น ชื่อเครื่องจักร GAS TURBINE 1 SET รายการที่ต้องระบุเพิ่มใน BOM คือ
  1.1 GENERATOR 5 SET
  1.2 BOILER 5 SET
  1.3 TURBINE 5 SET เป็นต้น
การสั่งปล่อยเครื่องจักรจะสั่งปล่อยชื่อรายการสินค้าตาม BOM ที่ขอไว้ทั้ง 3 รายการโดยอ้างอิงจำนวนที่ นำเข้าตามอินวอยซ์ฉบับนั้นเป็นหลัก


ถาม 8 : การขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรแบบ BOM ถ้าบริษัทขอรายการใน BOM ไม่ครบตามที่นำเข้ามาจริงต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบขออนุมัติบัญชีรายการอะไหล่เพิ่มเติมแทน

ถาม 9 : การขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรสำหรับรายการที่ค้ำประกันไว้จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบต้องระบุรายละเอียดของชื่อเครื่องจักร การใช้งาน หน่วย สภาพเครื่องจักร ให้ตรงตามที่ค้ำประกันไว้

ถาม 10 : การขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรสำหรับรายการที่เป็นเครื่องจักรเก่า (Used Machine) ต้องกรอกข้อมูลใน ระบบอย่างไร
ตอบ1. ระบุคำว่า Used นำหน้าชื่อเครื่องจักร
2. ระบุ Serial No. ต่อท้ายชื่อเครื่องจักร
3. ระบุปีที่ผลิต (ไม่เกิน 10 ปี) Year of MFG ต่อท้าย Serial No.
*** ตัวอย่าง Used Grinding Machine Serial No. 1234 Year of MFG 2009


ถาม 11 : การขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรกรณีที่เป็นเครื่องจักรที่มีฟังก์ชั่นการทำงานเหมือนกัน แต่ชื่อเรียกของผู้ขายที่ ระบุตามอินวอยซ์ต่างกันไม่ตรงกับบัญชีที่ได้รับอนุมัติต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบให้ดำเนินการขออนุมัติบัญชีเพิ่มรายการชื่อรอง

ถาม 12 : บริษัททำการขยายระยะเวลาระบบ eMT Onlineกับ BOI แล้ว ซึ่งในระบบเมนูข้อมูลโครงการระยะเวลาถูก Update แล้ว แต่ระยะเวลาในรายการเครื่องจักรแต่ละรายการไม่ได้ถูก Update ไปด้วย จะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างไร ?
ตอบกรอกข้อมูลตามรายละเอียดที่ปรากฏในอินวอยซ์และใบขนฉบับร่าง (Draft) โดยระบุประเภทของ รายการให้ตรงกับสินค้าว่าอยู่ในข่ายของเครื่องจักร อะไหล่ หรือ แม่พิมพ์ และเมื่อทำบัญชีรายการเครื่องจักรเพื่อขออนุมัติ ถอนการใช้ธนาคารค้ำประกันต้องระบุประเภทของสินค้าให้ตรงตามที่ค้ำประกันไว้ด้วย

ถาม 13 : การขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรสามารถระบุจำนวนเลขที่อินวอยซ์ได้กี่ตัวอักษร
ตอบระบุเลขที่อินวอยซ์ได้ไม่เกิน 35 ตัวอักษร

ถาม 14 : การขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรต้องระบุประเภทของอินวอยซ์ด้วยหรือไม่
ตอบการกรอกข้อมูลในระบบ ไม่ต้องใส่ประเภทของอินวอยซ์ที่นำเข้าให้ระบุเฉพาะเลขที่อินวอยซ์เท่านั้น (Invoice Number)

ถาม 15 : ถ้าบริษัทต้องการสั่งปล่อย 2 อินวอยซ์ และทั้ง 2 อินวอยซ์ถูกรวมเป็นใบขนเดียวกัน บริษัทต้องเตรียมข้อมูลในระบบอย่างไร
ตอบ1. เงื่อนไขของการสั่งปล่อยเครื่องจักร ระบบให้ทำการสั่งปล่อย 1 คำร้อง/อินวอยซ์/เลขที่ อก.
2. การระบุข้อมูลลำดับรายการในอินวอยช์ และลำดับรายการในใบขนให้อ้างอิงข้อมูลตามลำดับรายการของแต่ละอินวอยซ์ และลำดับรายการในใบขนที่เรียงลำดับรายการของทั้ง 2 อินวอยซ์ไว้แล้ว เช่น อินวอยซ์ A มี 2 รายการ อินวอยซ์ที่ B มี 3 รายการ ถ้าบริษัทต้องการสั่งปล่อยรายการที่ 1 ของอินวอยช์ B ต้องใส่ลำดับรายการในอินวอยซ์เป็น ลำดับที่ 1 และลำดับรายการในใบขนเป็นลำดับที่ 3 เป็นต้น


ถาม 16 : การส่งเครื่องจักรไปซ่อมแซมต่างประเทศ บริษัทต้องแจ้งความจำนงกับทางกรมศุลกากรเพื่อออกใบสุทธินำกลับ ในกรณีที่ระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดลงแล้ว บริษัทสามารถนำกลับเครื่องจักรที่ส่งซ่อมได้หรือไม่
ตอบสามารถนำเครื่องจักรเข้ามาได้โดยการใช้ใบสุทธินำกลับ แต่บริษัทต้องชำระภาษีค่าซ่อมกับกรมศุลกากร มาต่างหาก

ถาม 17 : การส่งคืน/ส่งซ่อมเครื่องจักร สำหรับรายการที่เป็นเครื่องจักรหลัก และโครงการมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร สิ้นสุดแล้ว คำร้องที่บริษัทส่งเข้ามาจะผ่านการพิจารณาอนุมัติที่สมาคมหรือไม่
ตอบไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติที่สมาคม เครื่องจักรหลัก ที่มีระยะเวลานำเข้าสิ้นสุดแล้ว คำร้องจะถูกส่งเรื่องไป ให้เจ้าหน้าที่สำนักงาน (BOI) ตามสำนักบริหารการลงทุนที่บริษัทสังกัด และผ่านการพิจารณาอนุมัติ 3 ระดับ โดยบริษัทต้องไปติดต่อขอรับหนังสืออนุมัติที่สำนักบริหารการลงทุนนั้น

ถาม 18 : การส่งคืน/ส่งซ่อมเครื่องจักรไปต่างประเทศ เมื่อบริษัทได้รับหนังสืออนุมัติจากสมาคม และนำไปผ่านพิธีการขาออก ที่กรมศุลกากรแล้ว บริษัทต้องดำเนินการอย่างไรในระบบอีกหรือไม่
ตอบบริษัทต้องเข้าไปยืนยันการส่งคืน/ส่งซ่อม ในระบบ โดยให้เข้าไปในเมนู “คำขอที่อยู่ในขั้นตอนการ อนุมัติ/แก้ไข” เพื่อยืนยันการส่งคืน/ส่งซ่อมเครื่องจักร (รับผลการพิจารณา)

ถาม 19 : ระบบ eMT Online รองรับการเข้าระบบด้วยโปรแกรม Browser (โปรแกรมเปิดใช้งานอินเตอร์เน็ต) อะไรบ้าง
ตอบรองรับการเข้าระบบ eMT Online ด้วยโปรแกรม Browser เฉพาะ IE (Internet Explorer) Version 6 ขึ้นไป เท่านั้น สำหรับโปรแกรมใช้งานอินเตอร์เน็ตประเภทอื่น เช่น Google chrome, Firefox, Netscape ไม่รองรับการใช้งานของระบบนี้

ถาม 20 : ระบบ eMT Online ไม่สามารถอ่าน Menu การทำงานในแต่ละหัวข้อได้ ระบบขึ้นเป็นภาษาที่อ่านไม่ออก วิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำอย่างไร
ตอบให้ปรับขนาดความละเอียดของภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ Taskbar (มุมล่างด้านขวา) ให้มีขนาด 100 %

ถาม 21 : บริษัททำการส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมด้วยระบบ eMT (เดิม) แต่ตอนนี้บริษัทได้เข้าใช้งานด้วยระบบ eMT Online แล้ว ถ้าบริษัทต้องการสั่งปล่อยนำกลับเครื่องจักรที่ส่งออกไปซ่อมจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบบริษัทต้องดำเนินการสร้างคำร้องงานส่งซ่อมหลอกในระบบ eMT Online และส่งเรื่องเข้ามาเป็นข้อมูลตั้งต้นในระบบก่อน เพื่อรองรับการสั่งปล่อยนำกลับเครื่องจักรที่ส่งไปซ่อมเข้ามาอีกครั้ง โดยให้บริษัทดำเนินการตามรายละเอียด ดังนี้
1. บริษัทสร้างคำร้องส่งซ่อมหลอก (ส่งซ่อมที่สั่งปล่อยจากระบบอื่น) โดยอ้างอิงข้อมูลการส่งซ่อมตามที่เคยส่ง คำร้องด้วยระบบ eMT (เดิม) และให้หมายเหตุ ว่า “ส่งซ่อมหลอก เนื่องจากได้ส่งซ่อมจริงในระบบ eMT (เดิม) แล้ว ตามเลขที่อนุมัติที่ อก .............ลงวันที่.............. เพื่อต้องการสั่งปล่อยนำกลับเครื่องจักรที่ส่งออกไปซ่อม ” จากนั้นให้ส่งคำร้องเข้าระบบ
2. สมาคมรับคำร้องประมวลผลตามขั้นตอนโดยพิมพ์หนังสืออนุมัติออกจากระบบแต่ไม่เสนอเจ้าหน้าที่ BOI พิจารณาลงนาม
3. สมาคมนำหนังสืออนุมัติแนบไฟล์คืนให้บริษัท
4. บริษัททำการยืนยันการส่งซ่อม ด้วยวิธีการรับผลการพิจารณา (เพื่อให้ระบบเก็บข้อมูลการส่งซ่อมรองรับ การสั่งปล่อยนำกลับเข้ามาใหม่)
5. บริษัท สามารถสร้างคำร้องสั่งปล่อยนำกลับเครื่องจักรที่ส่งซ่อมหลอกเข้ามาได้ตามปกติ


หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


Total pageviews 4,000,554 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.