ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 ภาษีเงินได้นิติบุคคล : ขั้นตอนการยกเว้นภาษีเงินได้

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

      ผู้ได้รับส่งเสริมที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2543 เป็นต้นมา จะได้รับการส่งเสริมโดยมีเงื่อนไขให้ต้องยื่นรายงานผลการดำเนินงานการใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

      ในกรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมซึ่งมีเงื่อนไขกำหนดในบัตรส่งเสริมให้ยื่นแบบขอใช้สิทธิฯ ประสงค์จะใช้สิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

  1. แยกลงบัญชีรายรับ-รายจ่ายของแต่ละโครงการ
    1.1ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องแยกลงบัญชีรายรับ-รายจ่ายของกิจการทั้งที่ได้รับส่งเสริมและไม่ได้รับส่งเสริมแยกจากกันเพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
    1.2กรณีที่มีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายร่วมกันในหลายโครงการ เช่น ค่าเสื่อมราคาอาคารโรงงาน ฯลฯ ให้ลงบัญชีตามต้นทุนเฉลี่ยตามสัดส่วนรายได้ของแต่ละโครงการ หรือตามวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด

  2. ยื่นแบบขอใช้สิทธิและรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตให้การรับรอง
    2.1ผู้ได้รับส่งเสริมที่ประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นแบบคำขอใช้สิทธิฯ และแบบรายงานผลการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตภายใน 120 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของปีทีขอใช้สิทธิ
    2.2สามารถเลือกผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบงบการเงินของผู้ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม หรือจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรายอื่นก็ได้
    2.3ผู้ได้รับส่งเสริมที่ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือกรณีที่มีผลประกอบการขาดทุน ไม่ต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิฯ ในรอบปีนั้นๆ
    2.4 เอกสารประกอบการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต มีดังนี้
    (1)รายการเครื่องจักรและอุปกรณ์
    -ทะเบียนเครื่องจักรและอุปกรณ์แยกแต่ละบัตรส่งเสริม
    -แผนผังที่ตั้งเครื่องจักรแต่ละเครื่อง
    -รายการเปลี่ยนแปลง (เพิ่มขึ้น/ลดลง) ของเครื่องจักรและอุปกรณ์
    (2)ปริมาณการผลิต
    -รายงานปริมาณการผลิตแยกแต่ละบัตรส่งเสริม
    - บัญชีสินค้าและเอกสารประกอบการลงบัญชีสินค้า
    (3)ปริมาณการขายและมูลค่าการขาย
    -รายงานปริมาณการขายและมูลค่าขายแยกแต่ละบัตรส่งเสริม
    -บัญชีสินค้าและเอกสารประกอบการลงบัญชีขาย
    2.5ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จะต้องเป็นผู้สอบบัญชีได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีและใบอนุญาตไม่ขาดอายุ ไม่ถูกสั่งพัก และไม่เคยถูกเพิกถอนโดยคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บ.ช) หรือเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองบัญชีโดยกรมสรรพากร หรือเคยถูกเพิกถอนการให้ความเห็นชอบโดยสำนักงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่นของทางราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ
    2.6 ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะต้องตรวจสอบตามแนวทางที่ BOI กำหนด เพื่อให้ทราบว่าโครงการที่ได้รับส่งเสริมนั้นมีการลงทุนในเครื่องจักรและมีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นจริงในรอบปีบัญชีที่ประสงค์จะใช้สิทธินั้น โดยมีแนวทางการตรวจสอบ ดังนี้
    (1) การลงทุนในเครื่องจักร
    -ตรวจสอบว่ามีการลงทุนเพิ่มเครื่องจักรในโครงการใหม่จริง โดยไม่ได้นำเครื่องจักรเดิมมาใช้ผลิตตามบัตรส่งเสริมใหม่
    (2) ปริมาณการผลิต
    -ตรวจสอบปริมาณการผลิตโดยเครื่องจักรแต่ละเครื่องตามบัตรส่งเสริมแต่ละฉบับ และเปรียบเทียบกับกำลังผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริม
    (3) ปริมาณการจำหน่ายและมูลค่าการจำหน่าย
    -ตรวจสอบว่าปริมาณการจำหน่ายและมูลค่าการจำหน่ายเป็นไปตามเงื่อนไขของบัตรส่งเสริม และไม่เกินกว่าสิทธิที่ได้รับ และสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในปีที่ขอใช้สิทธิได้

  3. ยื่นแบบขอใช้สิทธิและรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีให้ BOI ให้ความเห็นชอบ
    3.1BOI จะตรวจสอบแบบขอใช้สิทธิฯ และแบบรายงานผลการดำเนินงาน จากนั้นจะมีหนังสือแจ้งยืนยันการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ผู้ได้รับส่งเสริมและกรมสรรพากรทราบ เพื่อให้บริษัทใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีต่อกรมสรรพากร ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
    3.2ในกรณีที่ได้รับการส่งเสริมมากกว่า 1 บัตร ให้ยื่นแบบคำขอใช้สิทธิฯ รวมเป็นฉบับเดียว
    3.3กรณีที่บริษัทไม่ได้ยื่นแบบขอใช้สิทธิฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนด สามารถยื่นแบบขอใช้สิทธิฯ ในภายหลังได้ แต่สำนักงานอาจพิจารณาและมีหนังสือแจ้งยืนยันการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่ทันภายในกำหนด 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

  4. ยื่นแบบขอใช้สิทธิที่ BOI
          ให้ความเห็นชอบต่อกรมสรรพากรเพื่อประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบปีบัญชีนั้นๆ


คำถามน่ารู้

Q : จะต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ทุกปีหรือไม่?
A :ไม่ต้อง
ให้ยื่นเฉพาะปีที่มีกำไรสุทธิ และต้องการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น

Q : กรณีที่มีบัตรส่งเสริมหลายฉบับ ซึ่งเป็นคนละกิจการกัน จะต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิฯ อย่างไร?
A : ให้รวมยื่นแบบใช้สิทธิเพียงฉบับเดียว โดยในการยื่นกับสำนักบริหารสิทธิประโยชน์นั้น ให้พิจารณาจาก บัตรส่งเสริมฉบับแรกสุดที่มีเงื่อนไขให้ต้องยื่นแบบใช้สิทธิฯ ว่า เป็นโครงการในความรับผิดชอบของสำนักใด

      เช่น ในกรณีที่บริษัทได้รับส่งเสริม 3 โครงการ คือ

  • โครงการที่ 1 (บัตรส่งเสริมปี 2553)
    ผลิต IPO (สบท. 4) ไม่มี เงื่อนไขให้ต้องยื่นแบบใช้สิทธิฯ เนื่องจากไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
  • โครงการที่ 2 (บัตรส่งเสริมปี 2555)
    ผลิตเครื่องซักผ้า (สบท. 3) มี เงื่อนไขให้ต้องยื่นแบบใช้สิทธิฯ
  • โครงการที่ 3 (บัตรส่งเสริมปี 2556)
    ผลิตชิ้นส่วนโลหะ (สบท. 2) มี เงื่อนไขให้ต้องยื่นแบบใช้สิทธิฯ

      ในกรณีนี้ บริษัทต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิฯ 1 ฉบับ โดยมีข้อมูลของโครงการที่ 2 และ 3 และยื่นต่อ สบท.3 ซึ่งเป็นกองที่รับผิดชอบบัตรส่งเสริมฉบับแรกที่มีเงื่อนไขกำหนดให้ยื่นแบบใช้สิทธิฯ

Q : บริษัทจะเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ได้ตั้งแต่เมื่อไร?
A : ตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้ของโครงการที่ได้รับส่งเสริม แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม

Q : ในกรณีที่บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เต็มปี (เช่น ในปีแรกหรือปีสุดท้ายที่ได้รับสิทธิฯ) จะใช้สิทธิการยกเว้นภาษีอย่างไร?
A : จะต้องใช้ค่าเฉลี่ยของปริมาณการผลิตเปรียบเทียบจากกำลังผลิตสูงสุดของทั้งปี เช่น

  • รอบปีบัญชีของบริษัท คือ 1 มกราคม 2556 - 31 ธันวาคม 2556
  • กำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม คือ ปีละประมาณ 1,000,000 ชิ้น

      หากบริษัทเริ่มมีรายได้ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2556 ก็จะใช้สิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบปีบัญชีนี้ได้ไม่เกินกำลังผลิตระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2556 - 31 ธันวาคม 2556 (รวม 73 วัน) คือ

      1,000,000 x 73/365 = 200,000 ชิ้น

Q : ในกรณีที่บริษัทได้รับอนุมัติให้เพิ่มกำลังผลิตในระหว่างรอบปีบัญชี จะใช้สิทธิการยกเว้นภาษีอย่างไร?
A : จะต้องใช้ค่าเฉลี่ยของปริมาณการผลิตเปรียบเทียบจากกำลังผลิตสูงสุดก่อนและหลังแก้ไขบัตรส่งเสริม เช่น

  • รอบปีบัญชีของบริษัท คือ 1 มกราคม 2556 - 31 ธันวาคม 2556
  • กำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม คือ ปีละ 1,000,000 ชิ้น
  • ได้รับอนุมัติให้เพิ่มกำลังผลิตเป็นปีละ 1,500,000 ชิ้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป

ในกรณีนี้ บริษัทจะใช้สิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบปีบัญชี 2556 นี้ได้ ดังนี้
  • ระหว่าง 1 มค 56 - 19 ตค 56
    มีกำลังผลิต 1,000,000 x 292/365 = 800,000 ชิ้น
  • ระหว่าง 20 ตค 56 - 31 ธค 56
    มีกำลังผลิต 1,500,000 x 73/365 = 300,000 ชิ้น

    รวมปริมาณการจำหน่ายที่จะใช้สิทธิได้ = 1,100,000 ชิ้น

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 65,908
Total pageviews 4,000,070 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.