ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 การแก้ไขโครงการ : แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

การแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์

แนวทางการพิจารณาการแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ มี 2 กรณี ดังนี้

  1. กรณีที่ไม่มีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม
          โครงการที่ผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง เช่น ตู้เย็น แต่ต่อมาได้รับคำสั่งซื้อสินค้าชนิดอื่น เช่น ตู้แช่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ มีขั้นตอนการผลิตที่คล้ายคลึงกัน สามารถใช้เครื่องจักรร่วมกันได้

          ในกรณีนี้ ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถยื่นขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ จากเดิม ตู้เย็น เป็น ตู้เย็นและตู้แช่ ได้

          การแก้ไขโครงการที่ไม่มีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มนี้ สามารถขอแก้ไขได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม แม้ว่าโครงการนั้นจะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ทั้งนี้ จะมีผลตั้งแต่วันที่บริษัทยื่นคำร้องขอแก้ไขโครงการ

          กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมผลิตสินค้าชนิดอื่นโดยไม่ยื่นขอแก้ไขโครงการ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ซึ่งรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้น ต้องแยกลงบัญชีเพื่อชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล และหากผู้ได้รับเสริมส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปจำหน่ายต่างประเทศ ก็ไม่สามารถนำหลักฐานการส่งออกมายื่นขอตัดบัญชีวัตถุดิบได้

          นอกจากนี้ การที่ผู้ได้รับส่งเสริมนำเครื่องจักรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ไปใช้ในการผลิตสินค้าอื่นที่ไม่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งต้องยื่นขออนุญาตใช้เครื่องจักรนั้นเพื่อการอื่นอีกด้วย

  2. กรณีที่มีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม
          โครงการที่ผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง เช่น ตู้เย็น แต่ต่อมาประสงค์จะขยายโครงการเพื่อผลิตสินค้าชนิดใหม่ เช่น เครื่องซักผ้า ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ อาจมีกรรมวิธีการผลิตบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน และสามารถใช้เครื่องจักรบางส่วนร่วมกันได้ แต่จะต้องมีการลงทุนเครื่องจักรบางส่วนเพิ่มเติม

          ในกรณีนี้ ผู้ได้รับส่งเสริมอาจยื่นเรื่องเพื่อขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม จากเดิม ตู้เย็น เป็น ตู้เย็นและเครื่องซักผ้า ได้ โดยมีแนวทางพิจารณา ดังนี้

    2.1กรณีที่ยังไม่เปิดดำเนินการเต็มโครงการ
          มีแนวทางพิจารณา ดังนี้
    2.1.1 กรณีที่สิทธิประโยชน์ในการยื่นเป็นโครงการใหม่แตกต่างกับสิทธิประโยชน์ของโครงการเดิม
          จะอนุญาตให้แก้ไขโครงการได้เฉพาะกรณีที่เครื่องจักรที่จะลงทุนเพิ่มเติมมีมูลค่าไม่เกิน 30% ของมูลค่าเครื่องจักรตามบัตรส่งเสริมฉบับแรก
          แต่ทั้งนี้ เครื่องจักรที่จะลงทุนเพิ่มเติมนี้จะต้องนำเข้ามาภายในกำหนดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรที่เหลืออยู่เดิม และจะต้องเปิดดำเนินการเต็มโครงการให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดอยู่เดิม เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้ขยายเวลา

    2.1.2 กรณีที่สิทธิประโยชน์ในการยื่นเป็นโครงการใหม่ไม่แตกต่างกับสิทธิประโยชน์ของโครงการเดิม
          อนุญาตให้แก้ไขได้ทุกกรณี แม้ว่ามูลค่าเครื่องจักรที่จะลงทุนเพิ่มเติมอาจเกินกว่า 30% ของมูลค่าเครื่องจักรตามบัตรส่งเสริมฉบับแรกก็ตาม
    2.2กรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว
          โครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว จะไม่อนุญาตให้แก้ไขโครงการในกรณีที่จะต้องมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมอีก

          แต่ทั้งนี้ ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถนำเครื่องจักรที่ประสงค์จะลงทุนเพิ่มเติมไปยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ก็ได้

การยกเลิกผลิตภัณฑ์

      กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมประสงค์จะยกเลิกผลิตภัณฑ์บางรายการ สามารถยื่นคำร้องแก้ไขโครงการเพื่อยกเลิกชนิดผลิตภัณฑ์ได้ โดยมีแนวทางการพิจารณา 2 วิธี ดังนี้

  1. ยังไม่ได้นำเครื่องจักร/วัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ที่จะยกเลิกเข้ามา
          กรณีที่ผู้ได้รับประสงค์จะยกเลิกผลิตภัณฑ์บางรายการ โดยยังไม่เคยนำเครื่องจักรหรือวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าชนิดนั้นเข้ามาโดยได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า จะพิจารณาให้ยกเลิกชนิดผลิตภัณฑ์ได้ แต่ต้องไม่ทำให้โครงการส่วนที่เหลือมีสาระสำคัญต่ำกว่าหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการให้การส่งเสริม ดังนี้
    1. โครงการส่วนที่เหลือต้องมีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
    2. โครงการส่วนที่เหลือต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้

          กรณีที่โครงการส่วนที่เหลือ มีสาระสำคัญไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้การส่งเสริม คือ มีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนต่ำกว่า 1 ล้านบาท หรือมีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ จะพิจารณายกเลิกบัตรส่งเสริม

  2. นำเครื่องจักร/วัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ที่จะยกเลิกเข้ามาแล้ว
          กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมนำเครื่องจักรหรือวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าแล้ว แต่ต่อมาประสงค์จะยกเลิกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะพิจารณาให้ยกเลิกชนิดผลิตภัณฑ์ได้ตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับข้างต้น

          แต่ทั้งนี้ เครื่องจักรและวัตถุดิบที่ได้นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้านั้น จะต้องส่งคืนกลับไปต่างประเทศ หรือชำระภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (ดูรายละเอียดการชำระภาษีอากรในหัวข้อเครื่องจักรหรือวัตถุดิบ)

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 12,135
Total pageviews 3,996,972 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.