ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
การขอรับส่งเสริม : หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566

      โครงการที่จะได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  1. เป็นกิจการที่กำหนดไว้ในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน ตาม ประกาศคณะกรรมการ ที่ 9/2565 ประกอบด้วย

    หมวด 1 อุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ
    หมวด 2 อุตสาหกรรมการแพทย์
    หมวด 3 อุตสาหกรรมเครื่องจักรและยานยนต์
    หมวด 4 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    หมวด 5 อุตสาหกรรมโลหะและวัสดุ
    หมวด 6 อุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมี
    หมวด 7 สาธารณูปโภค
    หมวด 8 อุตสาหกรรมดิจิทัล
    หมวด 9 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
    หมวด 10 บริการที่มีมูลค่าสูง

          กรณีที่โครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริม เป็นกิจการที่ไม่มีกำหนดไว้ในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน อาจเป็นกิจการที่ BOI ประกาศระงับให้การส่งเสริมไปแล้ว หรือเป็นกิจการประเภทใหม่ที่ยังไม่เคยมีผู้ขอรับการส่งเสริมมาก่อนก็ได้

          กรณีที่เป็นกิจการประเภทใหม่ที่ยังไม่เคยมีผู้ยื่นขอรับการส่งเสริม คณะกรรมการจะพิจารณาความเหมาะสมในการเปิดประเภทการให้การส่งเสริมการลงทุนขึ้นใหม่เป็นกรณีๆ ไป

  2. มีขนาดการลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ยกเว้นกิจการ SMEs ซึ่งกำหนดขนาดการลงทุนขั้นต่ำไว้ 5 แสนบาท
          กรณีเป็นกิจการที่ใช้ฐานความรู้เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินการธุรกิจ จะต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำจากเงินเดือนของบุคลากรต่อปีไม่น้อยกว่าที่กำหนด

          ทั้งนี้ ขนาดการลงทุนขั้นต่ำ หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายดังนี้


    โครงการริเริ่มโครงการขยาย
    ค่าก่อสร้างOO
    ค่าเครื่องจักร ค่าติดตั้ง ค่า Test-runOO
    ค่าทรัพย์สินอื่นๆOX
    ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการOX
    ค่าที่ดินXX
    ค่าวิชาการXX
    เงินทุนหมุนเวียนXX

  3. มีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 20% ของรายได้
    ยกเว้นกิจการเกษตรและอาหาร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 10% ของรายได้

          ทั้งนี้ มูลค่าเพิ่มมีแนวทางในการคำนวณดังนี้

    มูลค่าเพิ่ม = รายได้ - ค่าวัตถุดิบ - ค่าบริการที่มาจากแหล่งอื่น x 100%
    รายได้

  4. มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 : 1 สำหรับโครงการริเริ่ม
    สำหรับโครงการขยาย จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป ดังนี้
    1. กรณีมีกำไรสะสม
      • คำนวณอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (รวมโครงการขยาย) ไม่เกิน 3:1 หรืออาจเกิน 3:1 ก็ได้ ตามความเหมาะสม
      • ดังนั้น โครงการขยายจึงอาจจะไม่ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนก็ได้
    2. กรณีขาดทุนสะสม
      • คำนวณอัตราส่วนหนี้สินของโครงการขยาย ต่อทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระเพิ่มขึ้น ให้ไม่เกิน 3:1

  5. มีกรรมวิธีการผลิตหรือขั้นตอนการให้บริการที่ทันสมัย

  6. ต้องใช้เครื่องจักรใหม่
    กรณีที่ใช้เครื่องจักรเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
    • ต้องไม่ใช่เครื่องจักรเก่าในประเทศ หรือเครื่องจักรเก่าที่เคยใช้ในประเทศมาก่อน
    • ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
    • ต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพจากสถาบันที่เชื่อถือได้ ในด้านประสิทธิภาพของเครื่องจักร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงาน รวมทั้งการประเมินราคาที่เหมาะสม (กรณีให้นับเป็นขนาดการลงทุนสำหรับยกเว้นภาษีเงินได้)
    • กรณีทั่วไป
      • ต้องเป็นเครื่องจักรเก่าอายุไม่เกิน 10 ปี นับจากปีที่ผลิตถึงปีที่นำเข้า
      • กรณีอายุไม่เกิน 5 ปี
        ให้นับเป็นเงินลงทุนสำหรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
      • กรณีอายุเกิน 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
        ไม่ให้นับเป็นเงินลงทุนสำหรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
    • กรณีการย้ายฐานการผลิต
      • กรณีอายุไม่เกิน 5 ปี
        ให้นับเป็นเงินลงทุนสำหรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
      • กรณีอายุเกิน 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
        ให้นับเป็นเงินลงทุนสำหรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 50% ของมูลค่าเครื่องจักรตามบัญชี แต่ไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
      • กรณีอายุเกิน 10 ปี
        ไม่ให้นับเป็นเงินลงทุนสำหรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
    • กรณีอื่นๆ
      • สำหรับกิจการขนส่งทางเรือ กิจการขนส่งทางอากาศ และแม่พิมพ์ จะอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรใช้แล้วที่มีอายุเกิน 10 ปี ในโครงการได้ตามความเหมาะสม โดยให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า และให้นับเป็นเงินลงทุนสำหรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

    เครื่องจักรเก่าที่ผ่อนผันให้มีอายุเกิน 10 ปี และไม่ต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพ ได้แก่
    • เครื่องจักรที่นำเข้ามาใช้ชั่วคราวไม่เกิน 1 ปี
    • แม่พิมพ์ แม่แบบ หรืออุปกรณ์ที่ใช้งานในลักษณะเดียวกัน เช่น Mold, Dies, Jig, Fixture, Pattern เป็นต้น

  7. ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 51% ของทุนจดทะเบียน สำหรับกิจการดังนี้
    • กิจการตามบัญชี 1 ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

  8. การป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
    1. ต้องมีแนวทางและมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ สำหรับโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยจะพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องสถานที่ตั้งและวิธีจัดการมลพิษ
    2. กิจการที่มีรายละเอียดโครงการ หรือกิจกรรมต่อเนื่อง ที่อยู่ในข่ายตามประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม หรือตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องนั้นๆ ด้วย
    3. โครงการที่ตั้งในจังหวัดระยอง ต้องปฏิบัติตาม ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.1/2554 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 เรื่อง นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง

  9. เงื่อนไข ISO
    • โครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องดำเนินการให้ได้ใบรับรองมาตรฐาน ISO 9000 หรือ 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ
    • กรณีปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO ไม่ได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี

  10. โครงการที่มีขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) เกิน 2,000 ล้านบาท ต้องเสนอรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตามที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริม

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 39,587
Total pageviews 4,000,262 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.