ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 การแก้ไขโครงการ : แก้ไขกรรมวิธีการผลิต

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

การแก้ไขกรรมวิธีการผลิต

  1. การเพิ่มขั้นตอนการผลิตโดยการลงทุนเพิ่ม
          ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มขั้นตอนการผลิตโดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม เช่น เพิ่มขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนบางรายการขึ้นเอง เพื่อทดแทนการนำเข้าชิ้นส่วนดังกล่าวจากต่างประเทศ เป็นต้น

          กรณีที่ยังไม่เปิดดำเนินการเต็มโครงการ และยังมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่ จะพิจารณาอนุญาตให้แก้ไขกรรมวิธีการผลิตเพื่อเพิ่มขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนโดยลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมได้ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ตามโครงการเดิม แต่ทั้งนี้ ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องนำเครื่องจักรเข้ามาภายในระยะเวลาที่กำหนดอยู่เดิม และจะต้องเปิดดำเนินการเต็มโครงการภายในกำหนดเวลาเดิม

          แต่ในกรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว จะไม่อนุญาตให้แก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มขั้นตอนการผลิตที่จะต้องนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมอีก แต่ผู้ได้รับส่งเสริมอาจนำเครื่องจักรในส่วนที่จะลงทุนเพิ่มเติมดังกล่าว ไปยื่นเป็นโครงการขอรับส่งเสริมใหม่เพื่อผลิตวัตถุดิบป้อนให้กับโครงการเดิมก็ได้

  2. การว่าจ้างให้ผู้อื่นผลิตบางขั้นตอน
          การแก้ไขกรรมวิธีการผลิตเพื่อว่าจ้างผู้อื่นให้ทำการผลิตชิ้นส่วนบางรายการ มี 2 กรณี ดังนี้

    2.1การว่าจ้างในส่วนที่ผู้ได้รับส่งเสริมเดิมผลิตอยู่เอง
          จะพิจารณาว่าทำให้สาระของโครงการลดลง เนื่องจากเป็นการนำขั้นตอนที่ผู้ได้รับส่งเสริมผลิตอยู่เดิม ไปว่าจ้างผู้อื่นให้ผลิตให้ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาด้วยว่า ขั้นตอนการผลิตที่เหลืออยู่ในโครงการภายหลังจากการแก้ไข ยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ขั้นต่ำที่ให้การส่งเสริมได้ คือ มีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 20% ของรายได้ หรือไม่

          กรณีการนำขั้นตอนบางส่วนไปว่าจ้างผู้อื่นให้ผลิตให้ ทำให้มูลค่าเพิ่มของโครงการต่ำกว่า 20% ของรายได้ จะไม่อนุญาตให้แก้ไขกรรมวิธีการผลิต

    2.2การว่าจ้างในส่วนที่ผู้ได้รับส่งเสริมเดิมไม่ได้ผลิตอยู่เอง
          จะพิจารณาว่าไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการลดลงจากเดิม เนื่องจากเป็นการเพิ่มการผลิตชิ้นส่วนขึ้นใหม่ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื่อมโยงในประเทศ จึงจะพิจารณาอนุญาตให้ได้ทุกกรณี

          การแก้ไขกรรมวิธีการผลิตเพื่อทำการว่าจ้างผลิตชิ้นส่วนนี้ ผู้ได้รับส่งเสริมอาจขออนุญาตนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรือวัตถุดิบ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นส่วนนั้นๆ ไปว่าจ้างผู้รับจ้างให้ผลิตชิ้นส่วนให้กับผู้ได้รับส่งเสริมด้วยก็ได้

  3. การลดขั้นตอนการผลิต
          แนวทางการพิจารณาการลดขั้นตอนการผลิต มี 2 วิธี ดังนี้

    3.1 ยังไม่ได้นำเครื่องจักร/วัตถุดิบในส่วนที่จะลดขั้นตอนการผลิตเข้ามา
          กรณีที่ผู้ได้รับประสงค์จะลดขั้นตอนการผลิต โดยยังไม่เคยนำเครื่องจักรหรือวัตถุดิบในส่วนที่จะลดขั้นตอนการผลิตนี้เข้ามาโดยได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า จะพิจารณาให้ลดขั้นตอนการผลิตได้ แต่ต้องไม่ทำให้โครงการส่วนที่เหลือมีสาระสำคัญต่ำกว่าหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการให้การส่งเสริม ดังนี้
    • ต้องมีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินละทุนหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
    • ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 20% ของรายได้

          กรณีที่โครงการส่วนที่เหลือ มีสาระสำคัญไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้การส่งเสริม คือ มีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนต่ำกว่า 1 ล้านบาท หรือมีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่า 20% ของรายได้ จะไม่อนุญาตให้ลดขั้นตอนการผลิต

    3.2 นำเครื่องจักร/วัตถุดิบในส่วนที่จะลดขั้นตอนการผลิตเข้ามาแล้ว
          กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมนำเครื่องจักรหรือวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าแล้ว แต่ต่อมาประสงค์จะลดขั้นตอนการผลิต จะพิจารณาให้ลดขั้นตอนการผลิตได้ตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับข้างต้น

          แต่ทั้งนี้ เครื่องจักรและวัตถุดิบที่ได้นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ซึ่งใช้ในขั้นตอนการผลิตที่ขอยกเลิกนี้ จะต้องส่งคืนกลับไปต่างประเทศ หรือชำระภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

  4. การผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเพื่อนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป
          กรณีที่เกิดปัญหาในการผลิต หรือกรณีที่คำสั่งซื้อสินค้าบาง Model มีน้อย ไม่คุ้มต่อการผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนขึ้นเองทุกรายการ ผู้ได้รับส่งเสริมอาจขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเพื่อนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปเข้ามาใช้ในการผลิตก็ได้

          การพิจารณาการขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเพื่อนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป มีแนวทาง ดังนี้

    4.1นำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปไม่เกิน 10% ของปริมาณผลิตจริงในแต่ละปี
          จะผ่อนผันให้ทุกกรณี โดยไม่คำนึงถึงมูลค่าเพิ่มของโครงการ

    4.2นำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปเกินกว่า 10% ของปริมาณผลิตจริงในแต่ละปี
          จะพิจารณาสาระสำคัญของโครงการด้วยว่า การนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปมาใช้ในการผลิต จะทำให้มูลค่าเพิ่มของโครงการลดลงต่ำกว่า 20% ของรายได้หรือไม่ หากต่ำกว่า 20% อาจไม่ผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตให้

  5. การผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตชั่วคราว
          กรณีที่เกิดปัญหาในการผลิตเป็นการเร่งด่วน ผู้ได้รับส่งเสริมอาจขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเพื่อนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปเข้ามาใช้ในการผลิตเป็นการชั่วคราว โดยอาจกำหนดปริมาณหรือระยะเวลาก็ได้ เช่น ขอนำเข้าชิ้นส่วนพลาสติกจำนวน 50,000 ชิ้น หรือขอนำเข้าชิ้นส่วนโลหะเป็นเวลา 1 ปี เป็นต้น

          ในกรณีดังกล่าว จะพิจารณาตามเหตุผลและตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป โดยอาจกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมอื่นๆ ไว้ด้วยก็ได้ เช่น รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่นำชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปมาใช้ในการผลิตนี้ อาจไม่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น

  6. การแก้ไขกรรมวิธีการผลิตอื่นๆ
          ในกรณีที่มีความจำเป็น ผู้ได้รับส่งเสริมอาจขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิตอื่นๆ นอกเหนือจากแนวทางข้างต้นก็ได้ โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป และอาจมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเป็นพิเศษให้สอดคล้องกับการแก้ไขนั้นๆ ก็ได้

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 13,159
Total pageviews 4,000,898 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.