ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
มาตรการพิเศษในการส่งเสริม : มาตรการ STI

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


โปรดทราบ

มาตรการนี้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ตามประกาศคณะกรรมการ ที่ 2/2557

      เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (SKILL, TECHNOLOGY & INVESTMENT หรือ STI)
      คณะกรรมการจึงกำหนดให้โครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน หรือโครงการที่ได้รับการส่งเสริมอยู่แล้ว สามารถขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตรการ STI ได้ โดยจะต้องมีการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด


เงื่อนไขในการขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการ STI

  1. เป็นโครงการที่ยื่นคำขอรับส่งเสริมใหม่ หรือยื่นคำขอรับส่งเสริมในกิจการขยาย

  2. กรณีเป็นโครงการที่ได้รับส่งเสริมอยู่แล้ว จะต้องยืนยันว่ายังมีสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลืออยู่ ทั้งระยะเวลาและวงเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ณ วันที่ยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม

  3. จะต้องยื่นหนังสือขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม พร้อมแบบประกอบคำขอตามหลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีและนวัตกรรม (SKILL, TECHNOLOGY & INNOVATION – STI) (F PA PP 14)

  4. โครงการที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ STI ตั้งแต่ขั้นยื่นขอรับการส่งเสริม

  5. ต้องมีการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านรวมกัน ตามมาตรการ STI ดังนี้
    1. การวิจัยพัฒนา หรือออกแบบ
    2. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology Training)
    3. ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัย ที่สำนักงานให้ความเห็นชอบ
    4. ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนกองทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเห็นชอบ

สิทธิประโยชน์ตามมาตราการ STI

  1. ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขตที่ตั้ง
  2. ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด
  3. ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น แต่รวมกับระยะเวลาที่ได้รับอยู่เดิมแล้วไม่เกิน 8 ปี ดังนี้

    มูลค่าการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายด้าน STI เปรียบเทียบกับยอดขายโครงการที่ขอรับส่งเสริมระยะเวลาที่ให้ยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มเติม
    ไม่น้อยกว่า 1% ของยอดขายรวมใน 3 ปีแรก หรือ
    ไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท
    1 ปี
    ไม่น้อยกว่า 2% ของยอดขายรวมใน 3 ปีแรก หรือ
    ไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท
    2 ปี
    ไม่น้อยกว่า 3% ของยอดขายรวมใน 3 ปีแรก หรือ
    ไม่น้อยกว่า 450 ล้านบาท
    3 ปี

เงื่อนไขของการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายตามมาตรการ STI แต่ละประเภท

  1. ค่าใช้จ่ายวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบ

    1. หมายความถึง การวิจัยอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน และการวิจัยเชิงประยุกต์ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
      1. การดำเนินงานเชิงปฏิบัติการ เชิงทฤษฎี หรือการดำเนินใดๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อความก้าวหน้าจากความความรู้เดิมที่มีอยู่
      2. การค้นคว้าหาการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้พื้นฐาน
      3. การคิดค้นสูตรหรือการออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ประโยชน์
      4. การทดสอบเพื่อค้นหาหรือประเมินทางเลือกต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ การบริการและกระบวนการ
      5. การออกแบบ การก่อสร้าง และการทดสอบชิ้นงานต้นแบบ หุ่นจำลอง และชุดพัฒนา
      6. การออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การบริการ หรือระบบใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ หรือเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงของเดิมอย่างเป็นสาระสำคัญ
      7. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (PROTOTYPE)
      8. การสร้างกระบวนการผลิตนำร่อง
      9. กิจกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขบกพร่องของผลิตภัณฑ์ใหม่/กระบวนการผลิตใหม่ที่สืบเนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือการสร้างกระบวนการผลิตนำร่อง
      10. งานวิศวกรรมอุตสาหการและงานตั้งเครื่องใหม่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิจัยและพัฒนาสินค้า หรือกระบวนการใหม่ที่สืบเนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบหรือการสร้างกระบวนการการผลิตนำร่อง
      11. การออกแบบเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการผลิตใหม่ที่สืบเนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบหรือการสร้างกระบวนการผลิตนำร่อง

    2. รายการค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย
      • ค่าจ้าง/เงินเดือน
      • ค่าเครื่องมืออุปกรณ์
      • ค่าปรับปรุง/ซ่อมแซม
      • ค่าใช้บริการห้องปฏิบัติการทดสอบ
      • ค่าวัตถุดิบ/วัสดุจำเป็นการวิจัย
      • ค่าฝึกอบรม
      • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของค่าใช้จ่ายของโครงการก่อนรวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าจัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์)
      • ค่าจ้างหน่วยงานอื่นที่เป็นผู้มีรายชื่อที่ได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากร ให้เป็นผู้ทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 3) เรื่อง กำหนดหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 ทำการวิจัย
      • ค่าสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการวิจัย

    3. ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องเสนอแผนวิจัยและพัฒนาเป็นระยะเวลา อย่างน้อย 3 ปี เพื่อประกอบการพิจารณา ตามรายละเอียดดังนี้
      • วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ
      • แหล่งที่มาขององค์ความรู้
      • บุคลากร (แนบประวัติการทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบของนักวิจัยและที่ปรึกษา
      • เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้
      • แผนการจ้างหน่วยงานอื่นทำการวิจัย (ถ้ามี)
      • ระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินการ (Action Plan)
      • ประมาณการเงินลงทุน/ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ตลอดระยะเวลาของโครงการ
      • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  2. ค่าใช้จ่ายและประเภทในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology Training) กำหนดขอบเขต ดังนี้

    1. ค่าใช้จ่ายฝึกอบรม หมายถึง
      • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง สำหรับการฝึกอบรมบุคลากรไทย ไม่ว่าจะเป็น In-house training หรือส่งไปฝึกอบรมภายนอก ทั้งภายในและต่างประเทศ โดย BOI จะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นกรณี ๆ ไป

    2. ประเภทการฝึกอบรม จะต้องเป็นไปตามแนวทางข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังต่อไปนี้
      1. การฝึกอบรมจะต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในกิจการที่ขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมฯ (ไม่รวมการฝึกอบรม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้)
      2. จะต้องเป็นการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมนั้นๆ
      3. จะต้องเป็นการฝึกอบรมที่มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมและเร่งรัดการรับเทคโนโลยี เพื่อความก้าวหน้าของธุรกิจเอกชนไทย และความรู้ที่ได้นั้นจะต้องใหม่ภายใต้สภาวะเฉพาะของการดำเนินงานของผู้ขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมฯ ด้านการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง การฝึกอบรมนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก BOI ว่ามีความสำคัญ
      4. จะต้องเป็นการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางเทคนิคเฉพาะด้านบุคลากรและธุรกิจเอกชนไทยสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนา หรือการออกแบบ หรือยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์
      5. จะต้องเป็นการฝึกอบรมทางเทคนิค เพื่อเตรียมบุคลากรของธุรกิจเอกชนไทย ให้สามารถถ่ายทอดความรู้ และความชำนาญที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือเทคโนโลยีก้าวหน้าจากแหล่งเทคโนโลยีภายในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      โดย BOI จะพิจารณาแผนการฝึกอบรมเป็นกรณีๆ ไปว่าเข้าข่ายเป็นการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูงหรือไม่

    3. รายละเอียดโครงการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง โดยประกอบด้วยสาระสำคัญดังต่อไปนี้
      • วัตถุประสงค์ของโครงการและผลที่ต้องการ
      • หลักสูตรในแต่ละโครงการ
      • ระยะเวลาการฝึกอบรม
      • จำนวนบุคลากรที่เข้ารับการฝึกอบรม
      • ประมาณค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

  3. ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการศึกษา หรือสถาบันวิจัย

    1. ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัย หมายถึง การให้ทุนหรือเครื่องมือ/อุปกรณ์สนับสนุนแก่สถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัย เพื่อทำการวิจัยพัฒนา หรือเพื่อทำการอื่นที่จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถด้านทักษะ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามที่สำนักงานให้ความเห็นชอบ

    2. แผนและงบประมาณในการสนับสนุนสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยของรัฐ โดยระบุถึงวัตถุประสงค์และขอบเขตที่จะให้การสนับสนุน

  4. ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนกองทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และบุคลากรตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเห็นชอบ

    • ปัจจุบันมีเฉพาะกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
    • ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องมีหนังสือแสดงความจำนงในการสนับสนุนไปยัง สวทช. และ สวทช. มีหนังสือยืนยันการรับเงินบริจาค


เอกสารประกอบการพิจารณา

  1. การขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการ STI
    • แบบคำขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตการ STI (F PA PP 14)
  2. การรายงานผลการปฏิบัติตามเงื่อนไข STI


โปรดทราบ

มาตรการนี้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ตามประกาศคณะกรรมการ ที่ 2/2557

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 14,427
Total pageviews 4,000,134 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.