ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
เครื่องจักร : การขอใช้เครื่องจักรเพื่อการอื่น

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566

การขอใช้เครื่องจักรเพื่อการอื่น

  1. เครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า จะต้องใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น
  2. การขอใช้เครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ไปใช้เพื่อการอื่น เช่น ผลิตหรือรับจ้างผลิตสินค้าอื่น และไม่ครบตามกระบวนการผลิตที่ได้รับส่งเสริม จะต้องดำเนินการดังนี้
    • ต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน
    • ต้องได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว
    • ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้รับส่งเสริมอย่างถูกต้อง
    • การรับจ้างผลิต ต้องไม่มีผลกระทบต่อกำลังผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม
    • รายได้ที่เกิดจากการนำเครื่องจักรไปใช้เพื่อการอื่นนี้ จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ข้อมูลและเอกสารที่ต้องใช้

  • รายการและจำนวนเครื่องจักรที่ขออนุมัติไปใช้เพื่อการอื่น
  • ข้อมูลเลขที่/วันที่หนังสือสั่งปล่อย อินวอยซ์ ใบขนขาเข้า ของเครื่องจักรที่จะขอนำไปใช้เพื่อการอื่น
  • สำเนาสัญญาจ้าง
  • ข้อมูลคู่สัญญา
  • ช่วงเวลาที่ขอใช้เครื่องจักรเพื่อการอื่น

ระยะเวลาพิจารณา

  • 15 วันทำการ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

เครื่องจักร : การนำเครื่องจักรไปให้ผู้อื่นใช้

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566

การนำเครื่องจักรไปให้ผู้อื่นใช้

      การจะนำเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร ไปให้ผู้อื่นใช้ จะต้องดำเนินการ ดังนี้

  1. ต้องเป็นการนำไปผลิตชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ให้กับเจ้าของเครื่องจักร
  2. ต้องไม่มีผลกระทบต่อสาระสำคัญของโครงการ เช่น กำลังการผลิต หรือกรรมวิธีการผลิต
  3. ต้องเป็นเครื่องจักรที่อยู่ในกระบวนการผลิตที่ได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นผลิตแทน
    แต่หากไม่มีระบุไว้ จะต้องขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิตให้เสร็จสิ้นก่อน
  4. กรณีเป็นแม่พิมพ์ที่มีการระบุและได้รับอนุญาตอยู่ในขั้นตอนการผลิตแล้ว ไม่ต้องยื่นขออนุญาตแต่อย่างใด

ข้อมูลและเอกสารที่ต้องใช้

  • กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุญาต และรายการเครื่องจักรที่จะนำไปให้ผู้อื่นใช้
  • ข้อมูลเลขที่/วันที่หนังสือสั่งปล่อย อินวอยซ์ ใบขนขาเข้า ของเครื่องจักรที่จะขอนำไปให้ผู้อื่นใช้
  • สำเนาสัญญาจ้าง
  • ข้อมูลคู่สัญญา
  • ช่วงเวลาที่ขอนำเครื่องจักรไปให้ผู้อื่นใช้

ระยะเวลาพิจารณา

  • 15 วันทำการ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

เครื่องจักร : การนำเครื่องจักรไปจำนอง/หรือเช่าซื้อ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566

การนำเครื่องจักรไปจำนอง/หรือเช่าซื้อ

      เครื่องจักรที่จะขอนำไปจำนอง/หรือเช่าซื้อ จะต้องได้รับอนุมัติสั่งปล่อยจาก BOI หรือได้รับอนุมัติสั่งปล่อยถอนค้ำประกันแล้ว

เอกสารที่ต้องใช้

  • รายการและจำนวนเครื่องจักรที่จะขอนำจำนอง/หรือเช่าซื้อ
  • ข้อมูลเลขที่/วันที่หนังสือสั่งปล่อย อินวอยซ์ ใบขนขาเข้า ของเครื่องจักรที่จะขอนำไปจำนอง/หรือเช่าซื้อ
  • สำเนาสัญญารับจำนอง/หรือเช่าซื้อ
  • ข้อมูลคู่สัญญา
  • ช่วงเวลาที่ขอนำเครื่องจักรไปจำนอง/หรือเช่าซื้อ

ระยะเวลาพิจารณา

  • 15 วันทำการ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

เครื่องจักร : การทำลายเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566

การทำลายเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย

      กรณีที่เครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร ชำรุดเสียหาย ในระหว่างที่ยังไม่ปลอดจากภาระภาษีอากร สามารถขอดำเนินการตัดบัญชีโดยไม่มีภาระภาษีอากรโดยการขอทำลาย ส่งออก หรือบริจาคให้กับส่วนราชการ องค์กรของรัฐ หรือองค์การสาธารณกุศล

กรณีขอทำลาย จะต้องดำเนินการดังนี้

  1. ระบุรายการและจำนวนเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย สาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียหาย และหลักฐาน (ถ้ามี)
  2. ขออนุมัติวิธีการทำลาย
  3. กรณีเครื่องจักรที่ขอทำลาย เป็นเครื่องจักรหลักของโครงการ ซึ่งทำให้กำลังการผลิตลดลงมากกว่า 20% ต้องแสดงหลักฐานการสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน หรือต้องแก้ไขโครงการเพื่อลดขนาดกิจการ
  4. ต้องเก็บรักษาเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายไว้ เพื่อให้ BOI หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ไปดำเนินการตรวจสอบสภาพก่อนการทำลาย
  5. เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลาย จะต้องดำเนินการตามวิธีการที่ได้รับอนุมัติ ภายใต้การควบคุมของ BOI หรือผู้ได้รับมอบหมาย และจะต้องยื่นตัดบัญชีต่อไป

      การจำหน่ายเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย แต่ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้น จะต้องชำระภาษีอากรขาเข้าตามสภาพในราคาและอัตราอากร ณ วันที่ BOI กำหนด

ข้อมูลและเอกสารที่ต้องใช้

  • รายการและจำนวนเครื่องจักรที่ขอทำลาย
  • ข้อมูลเลขที่/วันที่หนังสือสั่งปล่อย อินวอยซ์ ใบขนขาเข้า ของเครื่องจักรที่ขอทำลาย
  • เหตุผลที่ขอทำลายหนังสือชี้แจงรายการเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายและสาเหตุ
  • วิธีการทำลาย
  • กรณีเครื่องจักรที่ขอทำลาย เป็นเครื่องจักรหลักของโครงการ ต้องระบุกำลังผลิตและแสดงหลักฐานการสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน (ถ้ามี)

ระยะเวลาพิจารณา

  • 30 วันทำการ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

เครื่องจักร : การขอจำหน่ายเครื่องจักร

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566

การขอจำหน่ายเครื่องจักร

      ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอจำหน่ายเครื่องจักรได้ โดยมีแนวทางพิจารณาดังนี้

  • ต้องเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า
  • ที่ผ่านมาดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
  • กรณีขอจำหน่ายเครื่องจักรหลัก ซึ่งทำให้กำลังผลิตสูงสุดของโครงการลดลงเหลือต่ำกว่า 80% จะต้องแสดงหลักฐานการสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน หรือต้องขอลดขนาดโครงการก่อน
  • หากเครื่องจักรมีอายุไม่เกิน 5 ปี นับจากวันนำเข้าถึงวันที่ขออนุมัติจำหน่าย จะต้องยื่นขอชำระภาษีอากรตามสภาพ แต่หากเกิน 5 ปี จะไม่มีภาระภาษี
  • การขอจำหน่ายเครื่องจักรอายุเกิน 5 ปี เครื่องจักรที่ไม่เคยทำการตัดบัญชีมาก่อน จะตัดบัญชีให้โดยอัตโนมัติ
  • การขอจำหน่ายเครื่องจักรอายุไม่เกิน 5 ปี เมื่อได้ชำระภาษีอากรเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรต่อไป

ข้อมูลเอกสารที่ต้องใช้

  • รายการและจำนวนเครื่องจักรที่ขอจำหน่าย
  • เลขที่/วันที่หนังสือสั่งปล่อย อินวอยซ์ ใบขนขาเข้า ของเครื่องจักรที่ขอจำหน่าย
  • เหตุผลในการขอจำหน่าย
  • หลักฐานการสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน (กรณีที่กำลังผลิตสูงสุดของโครงการลดลงเหลือต่ำกว่า 80%)

ระยะเวลาพิจารณา

  • 15 วันทำการ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

เครื่องจักร : การบริจาคเครื่องจักร

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566

การบริจาคเครื่องจักร

      ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอบริจาคเครื่องจักรได้ โดยมีแนวทางพิจารณาดังนี้

  • ต้องเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า
  • ที่ผ่านมาดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
  • ต้องบริจาคให้แก่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์การสาธารณกุศล ที่สามารถนำเครื่องจักรนั้นไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานเหล่านั้น
  • เมื่อบริจาคตามที่ได้รับอนุมัติแล้ว จะต้องยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรต่อไป

ข้อมูลเอกสารที่ต้องใช้

  • รายการและจำนวนเครื่องจักรที่ขอบริจาค
  • เลขที่/วันที่หนังสือสั่งปล่อย อินวอยซ์ ใบขนขาเข้า ของเครื่องจักรที่ขอบริจาค
  • เหตุผลในการขอบริจาค
  • ชื่อหน่วยงานที่รับบริจาค และหนังสือแจ้งความจำนงค์ขอรับบริจาค

ระยะเวลาพิจารณา

  • 15 วันทำการ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

เครื่องจักร : การขอชำระภาษีนำเข้าเครื่องจักร

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566

การขอชำระภาษีนำเข้าเครื่องจักร

      ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอชำระภาษีนำเข้าเครื่องจักรได้ โดยมีแนวทางพิจารณาดังนี้

  • ต้องเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า
  • ที่ผ่านมาดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
  • เมื่อชำระภาษีเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรต่อไป

ข้อมูลเอกสารที่ต้องใช้

  • รายการและจำนวนเครื่องจักรที่ขอชำระภาษีนำเข้า
  • เลขที่/วันที่หนังสือสั่งปล่อย อินวอยซ์ ใบขนขาเข้า ของเครื่องจักรที่ชำระภาษี
  • เหตุผลในการขอชำระภาษี

ระยะเวลาพิจารณา

  • 15 วันทำการ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

เครื่องจักร : การซื้อเครื่องจักรจากฟรีโซน

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

การซื้อเครื่องจักรจากฟรีโซน

การซื้อเครื่องจักรจากฟรีโซน แบ่งออกโดยรวมได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

  1. ซื้อจากโรงงานผลิตเครื่องจักรที่ตั้งในฟรีโซน
          ถือเป็นการนำเข้าเครื่องจักรใหม่จากต่างประเทศ จึงสามารถใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรได้ตามปกติ

  2. ซื้อจากบริษัทซ่อมเครื่องจักร หรือบริษัท Trading ที่ตั้งในฟรีโซน
    • กรณีเป็นเครื่องจักรเก่าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
            ถือเป็นการนำเข้าเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศ ซึ่งต้องใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า และมีอายุไม่เกินที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
    • กรณีเป็นเครื่องจักรเก่าที่ซื้อมาจากในประเทศ
            ถือเป็นการใช้เครื่องจักรเก่าที่เคยใช้งานในประเทศ จึงไม่สามารถนำมาใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม

      ดังนั้น กรณีที่ซื้อเครื่องจักรเก่าจากโรงงานซ่อม หรือบริษัท Trading ในฟรีโซน จึงต้องแสดงหลักฐานด้วยว่าเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับส่งเสริม

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

เครื่องจักร : การดำเนินการอื่นๆ


views 56,422
Total pageviews 4,000,051 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.