บอร์ด / 108 คำถามกับงาน BOI / การเปิดดำเนินการ / การเปิดดำเนินการ / การขอเปิดดำเนินการ หรือขอขยายเวลาเปิดดำเนินการ
GUEST โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565, 11:52:10 (87 สัปดาห์ ก่อน)
Top

ขั้นตอนการขอเปิดดำเนินการ หรือขอขยายเปิดดำเนินการ ต้องเตรียมเอกสารอะไรและต้องทำอย่างไรบ้าง

บ. C....................

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565, 12:23:50 (87 สัปดาห์ ก่อน)
#1 Top

1. การขอเปิดดำเนินการ

เอกสารที่ต้องใช้
- แบบคำขออนุญาตเปิดดำดนินการ (F PM OP 01)
- สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
- สำเนาหนังสือรับรองการเป็นผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรม
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ไม่เกิน 6 เดือน
- หนังสือรับรองจดทะเบียน ไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนางบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองปีล่าสุด
- สำเนาทะเบียนสินทรัพย์
- สำเนาอินวอยซ์วันมีรายได้ครั้งแรก
- สำเนา ภงด.50
- แผนภูมิขั้นตอนการผลิต
- แผนผังการติดตั้งเครื่องจักร
- เอกสารอื่นๆ ตามเงื่อนไข/ข้อกำหนดของกิจการนั้นๆ

ขั้นตอนการขอเปิดดำเนินการ
- ยื่นคำขอเปิดดำเนินการและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ต่อศูนย์ภูมิภาคหรือกองที่รับผิดชอบ
- นัดหมายชี้แจง และ/หรือตรวจสอบโรงงาน

2. การขยายเวลาเปิดดำเนินการ

1) กรณีขยายเปิดดำเนินการ พร้อมขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร
- ยื่นคำร้องในระบบ eMT : https://emt.boi.go.th/emtui/home/Login.aspx
- นำบัตรส่งเสริมไปติดต่อ BOI เพื่อขอแก้ไขเอกสารแนบท้ายบัตร หลังได้รับอนุมัติขยายเวลาเปิดดำเนินการ

2) กรณีขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว
- ยื่นคำร้องในระบบ e-extension : https://e-operation.boi.go.th/ext/signin.php
- นำบัตรส่งเสริมไปติดต่อ BOI เพื่อขอแก้ไขเอกสารแนบท้ายบัตร หลังได้รับอนุมัติขยายเปิดดำเนินการ

runn โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2565, 14:22:05 (81 สัปดาห์ ก่อน)
#2 Top

การขอยื่นเปิดดำเนินการควรยื่นก่อนครบกำหนดเปิดดำเนินการกี่วันก็ได้ใช่หรือไม่ครับ

 

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2565, 15:17:51 (81 สัปดาห์ ก่อน)
#3 Top

1. หากบริษัทลงทุนเครื่องจักรครบตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมแล้ว

จะยื่นขอเปิดดำเนินการเต็มโครงการ ก่อนครบกำหนดเปิดดำเนินการ ล่วงหน้าเพียงใดก็ได้

2. แต่หากบริษัทยังมีความจำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรหรือแม่พิมพ์ เพื่อใช้ในโครงการ
และต้องการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรแม่พิมพ์นั้น

ตลอดจนต้องการนำมูลเครื่องจักรและแม่พิมพ์นั้น มารวมนับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ (เพื่อคำนวณวงเงินสูงสุดที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้)

ก็ควรขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร และขยายเวลาการเปิดดำเนินการ ออกไปตามสิทธิ
น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า ครับ

0215547002028 โพสต์เมื่อวันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566, 10:19:35 (34 สัปดาห์ ก่อน)
#4 Top

ขอคำแนะนะและความรู้เพิ่มเติมและแนวทางแก้ไขค่ะ  ทางบริษัท ต้องดำเนินการเปิดดำเนินการเต็มโครงการ ที่นี้ ปัญหาที่เกิดค่ะ

1. บัตรที่จะต้องเปิดดำเนินการ คือ บัตร B ซึ้งนำเข้าเครื่องจักรมาครบเต็มจำนวนโครงการที่ผลิตแล้ว........แต่เนื่องจากเครื่องจักรที่นำเข้ามา บัตร B ยังไม่ได้มีการเซ็ทหรือติดตั้งเดินลายการผลิต ใดๆๆทั้งสิ้น ..........ก่อนนี้ใช้ผลิต ผลิตภัณฑ์ ....โดยใช้เครื่องจักร ที่นำเข้าบัตร A  มาผลิตแทน

คำถาม...ทางบริษัทจำอะไรได้บ้าง....

(เนื่องจากได้ทำเรื่องขยายระยะเวลานำเข้าพร้อมขยายเปิดดำเนินการ  โดยเหตุผลว่าเครื่องจักรนำเ้ขามาเต็มโครงการแล้วแต่อยู่ในช่วงการติดตั้งและดำเนินการดำเนินการเอกสารเปิดดำเนินการ แต่เนื่องด้วยระยะเวลาขอขยายเจ้าหน้าที่ไม่อนุมัติ ทำให้สิทธิขายหมด เจ้าหน้าที่แจ้งกลับมาว่า ถ้าจะม่นำเข้าเครื่องจักร ไม่ต้องขอขยายระยะเวลานำเข้า ให้ดำเนินการเปิดโครงการได้เลย)

 

2.  คำถาม...มันจะผลอย่างไรบ้างค่ะ ซึ่งเครื่องจักร กระบวนการผลิตใช้เหมือนกัน ต่างที่ บัตร A จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่มนระดับเทคโนโลยีขั้นสูง

 

 

แก้ไขโดย 0215547002028 เมื่อวันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566, 11:30:29
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566, 17:59:34 (34 สัปดาห์ ก่อน)
#5 Top

ไม่เข้าใจคำถามครับ

1. หากบริษัทนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาครบแล้ว แต่ยังไม่ได้ติดตั้ง

หากครบกำหนดเปิดดำเนินการ ให้ยื่นขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว (ขยายได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 1 ปี)
โดยให้ระบุเหตุผลไปตามจริง และอาจขอขยายเวลาเพียง ... เดือน เท่าที่คิดว่าจะติดตั้งเครื่องจักรเสร็จ

หากติดตั้งเครื่องจักรไม่เสร็จ จะไม่สามารถตรวจสอบเปิดดำเนินการได้
และจะเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขเปิดดำเนินการ
ซึ่งอาจมีผลถึงการเพิกถอนบัตรส่งเสริม


2. ส่วนการนำเครื่องจักรของโครงการอื่น มาใช้ในการผลิต โดยไม่ได้รับอนุญาต

ถือเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขสำคัญของโครงการ

อาจมีผลถึงการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ ครับ

NTCCC โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2566, 16:10:14 (22 สัปดาห์ ก่อน)
#6 Top

สอบถามเกี่ยวกับวันที่ ขยายเปิดดำเนินการ และวันครบเปิดดำเนินการค่ะ บัตรส่งเสริมประเภทกิจการ 5.3.5 และประเภท 5.4.17 บัตรลงวันที่ 7เมษายน 2564 ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 4 ปี

GUEST โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566, 11:32:33 (22 สัปดาห์ ก่อน)
#7 Top

บริษัทมีคำถามที่จะรบกวนขอสอบถามเพิ่มค่ะ

บริษัท ได้รับการส่งเสริม ประเภท 2.4.3 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์

1.  ครบเปิดดำเนินการตามโครงการ วันที่ 7 สิงหาคม 2567
2.  มีการขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรแล้ว จำนวน  3 ครั้ง

เครื่องจักรจะครบกำหนดระยะเวลานำเข้าใน วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567

คำถาม

ในกรณีที่ครบกำหนดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรแล้ว
บริษัทยังต้องการนำเข้าเครื่องจักรมาใช้ในกระบวนการผลิตเพิ่มอีก
บริษัทสามารถขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรออกไปอีกเป็นกรณีพิเศษจำนวน 1 ครั้ง
เพื่อให้ครอบคลุมจนถึงวันที่ครบเปิดดำเนินการ (7 สิงหาคม 2567) ได้หรือไม่คะ

บ.R..

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566, 11:43:25 (22 สัปดาห์ ก่อน)
#8 Top

ตอบคำถาม #6 คุณ NTCCC

บัตรส่งเสริมลงวันที่ 7 เมษายน 2564

หากได้รับส่งเสริมตามเกณฑ์ปกติ จะกำหนดระยะเวลาเปิดดำเนินการ 36 เดือน

คือจะต้องเปิดดำเนินการภายในวันที่ 7 เมษายน 2567


เนื่องจากเงื่อนไขของแต่ละบัตรส่งเสริม อาจแตกต่างกัน ตามนโยบายที่บริษัทได้รับส่งเสริม

บริษัทจึงควรตรวจสอบเงื่อนไขเปิดดำเนินการ จากเงื่อนไขเฉพาะโครงการ ที่ระบุในบัตรส่งเสริมฉบับนั้นๆ ครับ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566, 12:04:03 (22 สัปดาห์ ก่อน)
#9 Top

ตอบคำถาม #7 บริษัท R...

บริษัทได้รับขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร 3 ครั้ง ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567
และได้รับขยายเวลาเปิดดำเนินการ ถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2567


หากครบกำหนดนำเข้าเครื่องจักรแล้ว แต่บริษัทยังต้องการนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาอีก

1. เครื่องจักรที่นำเข้ามาหลังจากวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร

2. หากนำเข้ามาภายในวันที่ 7 สิงหาคม 2567 สามารถนำมาคำนวณมูลค่าการลงทุนเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

3. แต่หากนำเข้ามาหลังจากวันที่ 7 สิงหาคม 2567 จะไม่นับเป็นเครื่องจักรในโครงการที่ได้รับส่งเสริม

4. บริษัทมีสิทธิที่จะยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรเกินกว่า 3 ครั้ง
โดย ประกาศ สกท ที่ ป.1/2548 ข้อ 6
กำหนดให้เลขาธิการ BOI เห็นเป็นการสมควร ให้นำเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ

5. ความเห็นของแอดมินคือ หากบริษัทจะยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรเกินกว่า 3 ครั้ง
ควรเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
เช่น เกิดเหตุการณ์ประท้วงที่ท่าเรือในประเทศต้นทาง ทำให้การขนส่งเครื่องจักรเข้ามาในประเทศ เกิดความล่าช้า ไม่ทันกำหนด เป็นต้น
จึงอาจจะอยู่ในข่ายที่เลขาธิการ BOI จะเห็นสมควรให้นำเสนอคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณา ครับ

0215547002028 โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2567, 13:26:04 (7 สัปดาห์ ก่อน)
#10 Top

บริษัท ได้นำเข้าเครื่องจักร เข้ามาครบเต็มโครงการแล้ว ....ไม่ขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร สิทะธิสิ้นสุดนำเข้าเครื่องจักร คือ วันที่ 25 มี.ค 67  ซึ่้งสามารถใช้สิทธิขอขยายระยะเวลานำเข้าได้ 3 ครั้ง ...แต่บริษัทจะไม่ใช้สิทธิ ขยาย ดังนั้นบริษัทจึงเข้าไป ระบบ ขอขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว  แต่ ในระบบ  โชว์  ว่า ยังไม่ถึงกำหนด จะครบเปิด 23 กันยายน 2567 ..หลังจากนี้บริษัทต้องดำเนินอย่างไรต่อไปค่ะ   

0215547002028 โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2567, 13:37:02 (7 สัปดาห์ ก่อน)
#11 Top

กรณ๊เปิดดำเนิน ลงรายการเครื่องจักร ....เครื่องจักรนำเข้าที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษี นำเข้า....แต่ที่เป็นอะไหล่ ต้องนำมาติดตั้งใช้กับเครื่องจักร ใช้สิทธิเสียภาษีนำเข้ามา 

คำถาม ...1 ในส่วนที่เป็นอะไหล่ เสียภาษีเข้ามา แต่ บัญชีลงเอายอดอะไหล่ ลงข้อมูลทะเบียนสินทรัพย์รวมกับเครื่องจักรที่ ยกเว้นนำเข้ามา ..เราต้องใส่รายการอะไหล่ นั้นในรายการเครื่องจักรด้วยไหมค่ะ 

0215547002028 โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2567, 14:16:47 (7 สัปดาห์ ก่อน)
#12 Top

แบบคำขออนุญาติเปิดดำเนินการค่ะ.....ส่วนของสินทรัพย์อื่นๆ มีอะไรบ้างค่ะ 

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2567, 14:21:24 (7 สัปดาห์ ก่อน)
#13 Top

ตอบคำถาม #10

การขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว

สามารถยื่นขอล่วงหน้า 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ

จึงยังไม่สามารถยื่นขอขยายเวลาในตอนนี้ได้ ครับ

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2567, 14:30:28 (7 สัปดาห์ ก่อน)
#14 Top

ตอบคำถาม #11

กรณีนำเข้าเครื่องจักร ส่วนประกอบ อะไหล่ แม่พิมพ์ โดยชำระภาษี

หากไม่ใช่เครื่องจักรที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้กรรมวิธีผลิตครบถ้วนสมบูรณ์
จะกรอกรายการนั้นในแบบคำขอเปิดดำเนินการหรือไม่ก็ได้
แต่จะไม่รวมนับมูลค่าเป็นขนาดการลงทุน

กรณีที่สอบถาม เป็นอะไหล่ของเครื่องจักร ที่นำเข้าโดยชำระภาษี
จึงจะกรอกในแบบคำขอเปิดดำเนินการหรือไม่ก็ได้
แต่เนื่องจากมีระบุในทะเบียนสินทรัพย์
ก็ควรกรอกรายการอะไหล่นั้นด้วย เพื่อให้รวมนับเป็นขนาดการลงทุน และรวมนับคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล


แต่ถ้าบริษัทไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือคำนวณแล้วว่าจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เต็มวงเงิน

จะไม่กรอกรายการอะไหล่นั้นก็ได้ ครับ

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2567, 14:36:38 (7 สัปดาห์ ก่อน)
#15 Top

ตอบคำถาม #12

สินทรัพย์อื่นๆ หมายถึง สินทรัพย์ของโครงการนั้นๆ ที่ไม่ใช่เป็นค่าก่อสร้าง และเครื่องจักร

เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เฟอร์นิเจอร์ ยานพาหนะ เป็นต้น


สินทรัพย์อื่นๆ ให้กรอกเฉพาะกรณีเป็นโครงการริเริ่ม ของนิติบุคคลนั้น เท่านั้น

หากเป็นโครงการขยาย คือบริษัทมีการลงทุนในกิจการอื่นใดอยู่ก่อนหน้านั้นแล้วฦ
ไม่ต้องกรอกสินทรัพย์อื่นๆ
เนื่องจากจะไม่นำมารวมนับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ ครับ

<< ก่อนหน้า       1       ถัดไป >>

ถ้าหากคุณต้องการโพสต์ในกระทู้นี้ กรุณา ลงชื่อเข้าใช้ หรือ ลงทะเบียนใช้งานเว็บบอร์ด