![]() |
บริษัท ฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยบัตรส่งเสริมระบุเงื่อนไขที่ตั้งโรงงาน 2 แห่ง คือ ในเขตอุตสาหกรรมนวนคร และ นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา ขอบคุณค่ะ |
![]() |
ขอข้อมูลเพิ่มเติมว่า 1. การระบุเงื่อนไขที่ตั้งโรงงาน 2 แห่ง เป็นกรณีหลายบัตรส่งเสริม หรือบัตรส่งเสริมฉบับเดียว 2. หากเป็นกรณีบัตรส่งเสริมฉบับเดียว แต่ระบุที่ตั้งโรงงานหลายแห่ง มีการกำหนดเงื่อนไขของแต่ละแห่ง ไว้ด้วยหรือไม่ อย่างไร เช่น ผลิตชิ้นส่วนที่ฉะเชิงเทรา และนำไปประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปทุมธานี เป็นต้น ครับ |
![]() |
ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อ 1 มีหลายบัตรส่งเสริม ในแต่ละบัตรส่งเสริม จะระบุเงื่อนไขที่ตั้งโรงงาน 2 แห่ง
|
![]() |
กรณีที่บัตรส่งเสริม 1 ฉบับ ระบุที่ตั้งโรงงานหลายแห่ง 1. ปกติจะเป็นการแยกกรรมวิธีการผลิต ตามที่ตั้งแต่ละแห่ง เช่น ขั้นตอนผลิตชิ้นส่วนที่จังหวัด A และขั้นตอนประกอบที่จังหวัด B โดยจะระบุไว้ในกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม (แนบท้ายหนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริม) 1.1 หากจะยกเลิกการผลิตในที่ใดที่หนึ่ง 1.2 การขอหยุดดำเนินการชั่วคราวในที่ใดที่หนึ่ง 2. อาจเป็นไปได้ว่า มีการผลิตครบทุกขั้นตอนในทั้ง 2 ที่ตั้ง 2.1 หากจะยกเลิกการผลิตในที่ใดที่หนึ่ง 2.2 หากจะขอหยุดดำเนินการในที่ใดที่หนึ่ง ส่วนคำถามว่าจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน เครื่องจักร วัตถุดิบ อย่างไร คำตอบขึ้นอยู่กับว่ากรณีของบริษัท จะเป็นไปตามเคสไหน ครับ |
![]() |
สืบเนื่องจากเพิ่มสถานที่ตั้งเป็น 2 ที่ จากตอนน้ำท่วมปี 2554 โดยในมติไม่ได้ระบุขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนจังหวัด A และขั้นตอนประกอบที่จังหวัด B หากยกเลิก จังหวัด B ต้องดำเนินการอย่างไรค่ะ |
![]() |
หากเป็นกรณีที่บัตรส่งเสริมระบุเงื่อนไขที่ตั้งโรงงาน 2 แห่ง โดยไม่กำหนดเงื่อนไขใดๆ 1. หากจะหยุดดำเนินการในที่ตั้งแห่งหนึ่งชั่วคราว สามารถยื่นขอหยุดดำเนินการเป็นการชั่วคราวได้ โดยโรงงานที่เหลือในที่ตั้งอีกแห่งหนึ่ง จะต้องมีกรรมวิธีการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริม แม้จะมีกำลังผลิตไม่เต็มตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม ก็ไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจากเป็นเพียงชั่วคราว 2. หากจะยกเลิกการผลิตในที่ตั้งหนึ่งเป็นการถาวร โดยย้ายเครื่องจักรทั้งหมดไปผลิตในที่ตั้งอีกแห่งหนึ่ง ให้ยื่นขอแก้ไขที่ตั้งโรงงาน โดยลดจาก 2 แห่ง เหลือเพียงแห่งเดียว ครับ |
![]() ![]() |
เรียน แอดมิน ขอคำแนะนำค่ะ บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการประเภท 2.4.3 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ (ยกเว้น EARTHEN WARE และกระเบื้องเซรามิกส์) บริษัทได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2567 1. หากบริษัทต้องการหยุดดำเนินการผลิต(ชั่วคราว) เป็นระยะเวลา 1 ปี (โดยยังไม่ปิดโครงการ) บริษัทสามารถทำได้หรือไม่คะ 2. ต้องใช้เอกสารอะไรประกอบการยื่นเรื่องบ้าง / แบบฟอร์ม 3. ต้องนำเอกสารยื่นที่สำนักงานฯ หรือ ยื่นผ่านระบบออนไลน์คะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
|
![]() ![]() |
ตอบคำถามดังนี้ 1. ตามเงื่อนไขที่ระบุอยู่ในบัตรส่งเสริม การหยุดดำเนินกิจการเกินกว่า 2 เดือน จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI 2. แบบคำขอหยุดดำเนินการ ตาม Link นี้ 3. ต้องยื่นเอกสารที่สำนักงาน ครับ |
![]() ![]() |
ขอบคุณมากค่ะ ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ 1. ในกรณีที่บริษัทได้รับอนุมัติให้หยุดดำเนินกิจการจากสำนักงานแล้ว และจะครบกำหนดที่ได้รับอนุมัติบริษัทสามารถขอขยายระยะเวลาเพิ่มได้หรือไม่ ตัวอย่าง บริษัทได้รับอนุมัติให้หยุดกิจการเป็นระยะเวลา 1 ปี ก่อนที่จะครบกำหนดบริษัทจะขอขยายฯ ระยะเวลาเพิ่มอีก 1 ปี 2. ในกรณีที่บริษัทปิดกิจการไปแล้ว เคลียร์ภาษีทั้งหมดแล้ว เครื่องจักรในโครงการยังไม่ได้ขายบริษัทสามารถ 2.1 โอนย้ายในบริษัทเดียวกันได้หรือไม่ (นำไปใช้ในโครงการอื่นของบริษัท) 2.2 ขายเครื่องจักรในประเทศ/ต่างประเทศ 2.3 บริจาค 3. ในกรณีที่บริษัทฯ ขอปิดกิจการ ในส่วนภาษีของเครื่องจักรที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ทางสำนักงานฯ มีวิธีการคิดภาษีอย่างไรคะ และคิดภาษีกี่ % คะ 4. ในกรณีที่บริษัทยังไม่ปิดกิจการ สามารถให้ผู้อื่นเข้ามาร่วมทุนกับเราได้หรือไม่ |
![]() ![]() |
ตอบคำถามดังนี้ 1. บริษัทสามารถขอขยายเวลาการหยุดดำเนินกิจการได้ ตามเหตุผลและความจำเป็น 2. หากบริษัทจะไม่ประกอบกิจการนั้น จะต้องยื่นขอยกเลิกบัตรส่งเสริม และสะสางภาระภาษีเครื่องจักรและวัตถุดิบให้เสร็จสิ้น 2.1 การโอนเครื่องจักรให้กับโครงการอื่น -> จะเท่ากับโครงการที่รับโอน ใช้เครื่องจักรเก่าในประเทศ ปกติจะไม่อนุญาต 2.2 การส่งออก การจำหน่าย การบริจาค สามารถทำได้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ 3. การจำหน่ายเครื่องจักรที่อายุไม่เกิน 5 ปีนับจากวันนำเข้า จะต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามสัดส่วนของระยะเวลาที่ยังไม่ครบ 5 ปี 4. บริษัทสามารถยื่นขอโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือขายหุ้นให้กับผู้อื่น (เปลี่ยนแปลงโครงการผู้ถือหุ้น) ได้ แนะนำให้ศึกษาเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและภาระภาษีจากความเข้าใจผิด ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>