ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 ปริมาณสต็อกสูงสุด : RMTS online version ปรับปรุงใหม่

ภาพรวม/ความคืบหน้า หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ
ข้อมูลไม่เป็นทางการ
update : 1 ธันวาคม 2565

ปริมาณสต็อกสูงสุด

ย้อนกลับ -- บัญชีรายการวัตถุดิบ --

 3. การปันส่วนการใช้สิทธิมาตรา 30 และ 36

    โครงการที่ได้รับสิทธิทั้งมาตรา 30 และมาตรา 36 จะต้องกำหนดสัดส่วนที่ขอใช้สิทธิลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตจำหน่ายในประเทศ ตามมาตรา 30 และสัดส่วนที่จะขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตส่งออก ตามมาตรา 36 โดยสามารถขอสัดส่วนที่แตกต่างกัน ตามแต่ละผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริมได้

    หากบริษัทยังไม่ประสงค์จะใช้สิทธิมาตรา 30 สามารถกำหนดสัดส่วนที่จะใช้สิทธิมาตรา 30 เป็น 0% และกำหนดสัดส่วนที่จะใช้สิทธิมาตรา 36 เป็น 100% และสามารถเปลี่ยนแปลงสัดส่วนนี้ได้ในภายหลัง แต่จะทำให้ปริมาณสต็อกสูงสุดที่เคยได้รับอนุมัติไว้แล้วตามมาตรานั้นๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย

 4. กรรมวิธีผลิต และปริมาณสต็อกสูงสุด
     ตัวอย่าง : กรณีเป็นวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น สำหรับกิจการทั่วไป
     ไม่รวมกิจการ IPO/ITC และกิจการ 4.14 Fabrication Industry

Product CardMOTOR
Product Capacity1,200,000
Product UnitC62
Usage Per1
GRP_NODESCUOMESS_MATPROCESSMax UsageMax StockMax importBOM
000001AMTRNprocess 11.5600,0000000001.pdf
000003BGRMNprocess 21400,0000000003.pdf
000004CC62Sprocess 320240,000000004.pdf

อธิบายความหมายของตารางตัวอย่างด้านบน ดังนี้ :
ผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม คือ Motor กำลังการผลิตปีละ 1,200,000 ชิ้น
ในการผลิต Motor จำนวน 1 ชิ้น
  • ต้องใช้วัตถุดิบ group no 000001 คือ A
  • หน่วยนำเข้าเป็นเมตร
  • สถานะเป็นวัตถุดิบ
  • ใช้ในกรรมวิธีการผลิตคือ process 1
  • ปริมาณการใช้สูงสุด (ต่อ Motor 1 ชิ้นที่เป็นสินค้ารุ่นหลัก) คือ 1.5 เมตร
  • จะได้รับอนุมัติ Max Stock แบบหมุนเวียน 600,000 เมตร (ระบบคำนวณให้เอง)
  • รายละเอียดแสดงปริมาณการใช้สูงสุด ตามไฟล์ 000001.pdf
  • และต้องใช้วัตถุดิบ group 000002 คือ B, group 000003 คือ C ตามความหมายในลักษณะเดียวกัน

ชื่อคอลัมน์ความหมายเงื่อนไข / ข้อกำหนด
Product Cardชื่อผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม
  • หากผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมมีหลายรายการ ให้แยกบันทึกความสัมพันธ์ของวัตถุดิบกับกรรมวิธีผลิต ของผลิตภัณฑ์แต่ละรายการ
  • กรณีกิจการ IPO/ITC จะกำหนดชนิดผลิตภัณฑ์ตามแผนการจำหน่ายของบริษัท
Product Capacityกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม
  • กรณีกิจการ IPO/ITC จะกำหนดกำลังผลิตตามแผนการจำหน่ายของบริษัท
Product Unitหน่วยผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม
  • สำคัญ!
        หากผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม ระบุกำลังผลิตและหน่วยผลิตภัณฑ์ไว้ 2 หน่วย เช่น ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนเหล็กหล่อ ปีละ 1,000,000 ชิ้น หรือประมาณ 50,000 กิโลกรัม
        บริษัทสามารถเลือกหน่วยใดหน่วยหนึ่ง เพื่อใช้ขออนุมัติบัญชีสต็อกวัตถุดิบได้ แต่จะต้องใช้หน่วยเดียวกันนั้น ในการแก้ไขบัญชีสต็อกวัตถุดิบในครั้งต่อๆไป
        เช่น หากเลือกใช้กำลังผลิต 50,000 กิโลกรัม ในการขออนุมัติบัญชีสต็อกวัตถุดิบ ก็จะต้องใช้หน่วยผลิตภัณฑ์เดียวกันนี้ (กิโลกรัม) ในการแก้ไขบัญชีสต็อกในครั้งต่อๆไป เว้นแต่จะมีการแก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม จนเหลือเพียงหน่วยอื่นที่ไม่ใช่กิโลกรัม
  • กรณีกิจการ IPO/ITC จะกำหนดหน่วยผลิตภัณฑ์ตามแผนการจำหน่ายของบริษัท
PROCESSกรรมวิธีผลิต
  • (ยังไม่กำหนดชื่อคอลัมน์นี้)
  • กรรมวิธีการผลิตที่ใช้วัตถุดิบรายการนี้ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม
Usage Perปริมาณการใช้วัตถุดิบต่อผลิตภัณฑ์จำนวนเท่าใด
  • ให้ระบุเป็น 1 เท่านั้น
  • ตามตารางด้านบน จะมีความหมายว่า
    ในการผลิต MOTOR จำนวน 1 C62 (ชิ้น) จะใช้วัตถุดิบสูงสุดคือ
    • วัตถุดิบ A จำนวน 1.5 เมตร (MTR)
    • วัตถุดิบ B จำนวน 1 กรัม (GRM)
    • วัตถุดิบ C จำนวน 2 ชิ้น (C62)
Max Usageปริมาณการใช้สูงสุด
  • (ยังไม่กำหนดชื่อคอลัมน์นี้)
  • ปริมาณการใช้วัตถุดิบสูงสุด ต่อ 1 หน่วยผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมที่เป็นสินค้ารุ่นหลัก
  • สามารถระบุ max usage เป็น 0 ได้ โดยจะได้รับอนุมัติ max stock เป็น 0
        เช่น ในกรณีที่ไม่ต้องการขอ max stock เนื่องจากจะไม่นำเข้าวัตถุดิบเอง แต่จะซื้อวัตถุดิบนั้นจากผู้ผลิตในประเทศ (BOI vendor) สามารถขออนุมัติสต็อกวัตถุดิบรายการนั้นเป็น 0 เพื่อให้ได้รับอนุมัติเฉพาะรายการวัตถุดิบ สำหรับโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับ BOI vendor ได้
Max Stockปริมาณสต็อกสูงสุด แบบหมุนเวียน
  • เป็นปริมาณสต็อกสูงสุดของผลิตภัณฑ์นี้ ที่ระบบคำนวณให้
  • กรณีเป็นวัตถุดิบ/หรือวัสดุจำเป็น มาตรา 36(1)
    max stock = ปริมาณการใช้วัตถุดิบสูงสุด ของกำลังผลิต 4 เดือนตามบัตรส่งเสริม
        ดังนั้น max stock ของ group no 000001 จึงเป็น 600,000 เมตร
Max Importปริมาณสต็อกสูงสุด แบบไม่หมุนเวียน
  • แยกอธิบายไว้ในหัวข้อ บัญชีสต็อกชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป (semi-finished part) ซึ่งอยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูล
BOMเอกสารแสดงปริมาณการใช้วัตถุดิบสูงสุด
  • (ยังไม่กำหนดชื่อคอลัมน์นี้)
  • ไฟล์เอกสารเพื่อแสดงปริมาณการใช้สูงสุด (max usage) ของวัตถุดิบรายการนั้นๆ
  • หากระบุชื่อไฟล์ให้ตรงกับ GRP_NO ไม่ต้องกรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้


 สรุปข้อควรทราบ ข้อควรระวัง

  1. กรณีได้รับส่งเสริมหลายผลิตภัณฑ์
        จะต้องแสดงรายการวัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต และปริมาณการใช้วัตถุดิบสูงสุด แยกตามแต่ละชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม
        เช่น หากบัตรส่งเสริม ระบุขนาดกิจการเป็น Car Navigator ปีละ 1,000,000 เครื่อง และ Tablet ปีละ 500,000 เครื่อง
        ระบบจะแยกคำนวณปริมาณ max stock ของแต่ละผลิตภัณฑ์ก่อน จากนั้นจึงจะนำทั้งหมดมารวมเป็น max stock ของโครงการ

  2. การแสดงปริมาณการใช้สูงสุดของวัตถุดิบ ไม่ต้องอิงกับผลิตภัณฑ์หรือโมเดลเดียวกัน
        เช่น หากบัตรส่งเสริม ระบุขนาดกิจการเป็น ชิ้นส่วนโลหะ เช่น X, Y เป็นต้น ปีละ 9,000,000 ชิ้น
        สามารถแสดงปริมาณการใช้สูงสุดของวัตถุดิบ A ในการผลิตสินค้า X โมเดล 111 ซึ่งเป็นสินค้าหลัก
        และแสดงปริมาณการใช้สูงสุดของวัตถุดิบ B ในการผลิตสินค้า Y โมเดล 222 ซึ่งเป็นสินค้าหลัก ก็ได้
        โดยไม่ต้องระบุปริมาณที่คาดว่าจะผลิต ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าหลัก แต่ละชนิด/แต่ละโมเดล

  3. สำคัญ!
        การขออนุมัติ/หรือแก้ไข max stock จะต้องแสดงปริมาณการใช้วัตถุดิบ ต่อ 1 หน่วยสินค้าตามบัตรส่งเสริมเท่านั้น
        เช่น หากบริษัทได้รับส่งเสริมผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ปีละ 1,000,000 กิโลกรัม (KGM)
        แม้บริษัทจะผลิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นชิ้น (C62) ก็ตาม บริษัทจะต้องคำนวณปริมาณการใช้วัตถุดิบให้เป็นต่อผลิตภัณฑ์ 1 กิโลกรัม (KGM) และบันทึกปริมาณการใช้สูงสุดของวัตถุดิบต่อผลิตภัณฑ์ 1 กิโลกรัม (KGM) นั้น เพื่อขออนุมัติ/หรือแก้ไข max stock

  4. กรณีที่ผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม มี 2 หน่วยผลิตภัณฑ์ เช่น
        มีกำลังผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ปีละ 10,000 กิโลกรัม (KGM) หรือประมาณ 200,000 ชิ้น (C62)
        บริษัทสามารถเลือกหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ของหน่วยผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม คือ กิโลกรัม (KGM) หรือ ชิ้น (C62) ในการขออนุมัติ max stock ในครั้งแรกได้
        แต่ในการแก้ไข max stock ในครั้งต่อๆไป บริษัทจะต้องใช้หน่วยผลิตภัณฑ์หน่วยเดียวกับที่เคยเลือกใช้ในครั้งแรกเท่านั้น


ภาพรวม/ความคืบหน้า หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 1,438
Total pageviews 4,035,905 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.