Home | สาระน่ารู้

สรุปคำถาม-คำตอบ การใช้งานระบบ eMT Online

ที่มา : สมาคมสโมสรนักลงทุน
ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2558

  1. ระบบ eMT Online รองรับการเข้าระบบด้วยโปรแกรม Browser (โปรแกรมเปิดใช้งานอินเตอร์เน็ต) อะไรบ้าง
    A: รองรับการเข้าระบบ eMT Online ด้วยโปรแกรม Browser เฉพาะ IE (Internet Explorer) Version 6 ขึ้นไปเท่านั้น สำหรับโปรแกรมใช้งานอินเตอร์เน็ตประเภทอื่น เช่น Google chrome, Firefox, Netscape ไม่รองรับการใช้งานของระบบนี้

  2. ระบบ eMT Online ไม่สามารถอ่าน Menu การทํางานในแต่ละหัวข้อได้ ระบบขึ้นเป็นภาษาที่อ่านไม่ออก วิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวทําอย่างไร
    A: ให้ปรับขนาดความละเอียดของภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ Taskbar (มุมล่างด้านขวา) ให้มีขนาด 100 %

  3. ขอทราบรายละเอียดการเข้าใช้ระบบ eMT Online
    A: ผู้ใช้บริการสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆดังนี้
    1. ผู้ใช้บริการสมัครเข้าใช้บริการกับสมาคมฯ (กรณียังไม่เคยใช้บริการระบบ RMTS ชำระค่าบริการ 3,000 บาท แต่ถ้าเคยใช้ระบบ RMTS แล้ว ชำระค่าบริการ 2,500 บาท)
    2. ผู้ใช้บริการเข้ารับการอบรมการใช้งานระบบ eMT
    3. ผู้ใช้บริการจัดทำบัญชีรายการเครื่องจักรและยื่นคำร้องขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรผ่านระบบ eMT กับสำนักงานฯ
    4. สำนักงานพิจารณาอนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรภายใน 60 วันทำการ
    5. ผู้ใช้บริการยื่นคำร้องขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรผ่านระบบ eMT กับสมาคมฯ
    6. ผู้ใช้บริการแจ้งเลขที่อนุมัติ (เลขที่ อก.) ให้กับบริษัทตัวแทนออกของ (Shipping) เพื่อยิงข้อมูลใบขน
    7. ตรวจปล่อยสินค้าที่หน้าด่านศุลกากร

  4. ขอทราบขั้นตอนการกรอกข้อมูล การส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมแซมต่างประเทศ
    A: ผู้ใช้บริการสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆดังนี้
    1. ผู้ใช้บริการเตรียมข้อมูลที่ประเภทงาน ส่งคืน / ส่งซ่อม (ที่สั่งปล่อยจากระบบอื่น) และยื่นคำร้องผ่านระบบ eMT Online กับสมาคมฯ
    2. พนักงานสมาคมฯกำหนดคำขอ พิมพ์หนังสืออนุมัติให้กับเจ้าหน้าที่สำนักงานฯเพื่อพิจารณาอนุมัติลงนาม ภายใน 3 ชั่วโมง
    3. ผู้ใช้บริการมาติดต่อขอรับหนังสืออนุมัติคืนกับสมาคมฯ
    4. บริษัทตัวแทนออกของ (Shipping) ทำใบขนขาออกโดยเลือกสุทธินำกลับ เพื่อรองรับสั่งปล่อยนำกลับหลังจากที่ซ่อมแซมเสร็จแล้ว

  5. Account เข้าใช้งานระบบ eMT Online สามารถใช้ได้สูงสุดกี่โครงการ และหากได้รับอนุมัติโครงการเพิ่ม จะต้องดําเนินการอย่างไร
    A: Account ที่ผู้ใช้บริการได้รับเพื่อเข้าใช้งานระบบ eMT Online จะกำหนดเป็น Account ระดับบริษัท 1 Account ต่อ 1 บริษัท และสามารถสร้าง Account ย่อยได้ 10 Account หากได้รับอนุมัติโครงการเพิ่มสามารถใช้ Account เดิมได้

  6. ประเภทงานให้บริการของระบบ eMT Online มีอะไรบ้าง
    A: งานที่ขออนุมัติส่งคำร้องให้กับเจ้าหน้าที่สำนักงาน ประจำ BOI (3 ระดับ)
    1. งานขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรใช้เวลาในการดำเนินการไม่เกิน 60 วันทำการ
    2. งานขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรแก้ไขใช้เวลาในการดำเนินการไม่เกิน 30 วันทำการ
    งานที่ขออนุมัติส่งคำร้องให้กับเจ้าหน้าที่สำนักงาน ประจำสมาคม (1 ระดับ)
    1. งานขออนุมัติบัญชีชื่อรอง/อะไหล่/แม่พิมพ์ ใช้เวลาในการดำเนินการไม่เกิน 1 วันทำการ
    2. งานขออนุมัติสั่งปล่อยปกติ/คืนอากร/ถอนค้ำประกันเครื่องจักรใช้เวลาในการดำเนินการไม่เกิน 3 ชั่วโมงทำการ
    3. งานขออนุมัติผ่อนผันการใช้ธนาคารค้ำประกันใช้เวลาในการดำเนินการไม่เกิน 3 ชั่วโมงทำการ
    4. งานขอขยายเวลาค้ำประกันเครื่องจักรใช้เวลาในการดำเนินการไม่เกิน 3 ชั่วโมงทำการ
    5. งานขออนุมัติส่งคืน/ส่งซ่อมเครื่องจักร ใช้เวลาในการดำเนินการไม่เกิน 3 ชั่วโมงทำการ
    6. งานขออนุมัติเรียกเก็บอากร ใช้เวลาในการดำเนินการไม่เกิน 3 ชั่วโมงทำการ
    7. งานขอยกเลิกเอกสารใช้เวลาในการดำเนินการไม่เกิน 3 ชั่วโมงทำการ

  7. ข้อควรปฎิบัติ / ระมัดระวังในการใช้ระบบ eMT Online
    A: ข้อควรปฎิบัติ ในการใช้ระบบ eMT มีดังนี้
    1. การตรวจสอบข้อมูลสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับส่งเสริมต้องตรงตามบัตรส่งเสริม เช่น วันที่เริ่มต้น วันที่สิ้นสุด เลขที่ ประเภทกิจการ ชื่อผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
    2. การระบุข้อมูลตรงตามเงื่อนไขของระบบ เช่น การขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรต้องระบุชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นเครื่องจักรหลักต้องระบุ ขนาด/ Spec อธิบายลักษณะการใช้งานครบ เป็นต้น
    3. การระบุข้อมูลตรงตามอินวอยซ์ที่นำเครื่องจักรเข้ามา เช่น เลขที่อินวอยซ์ วันที่ออกอินวอยซ์ ชื่อ ขนาด/Spec จำนวน หน่วย เป็นต้น
    4. การระบุประเภทของงานที่ต้องการยื่นขออนุมัติให้ถูกต้องตรงตามที่ต้องการ เช่น ประเภทคำร้องสั่งปล่อย ต้องเลือกให้ตรงว่า เป็นการสั่งปล่อยปกติ หรือเป็นการสั่งปล่อยคืนอากร หรือ ประเภทงานส่งคืนเครื่องจักรออกไปต่างประเทศ ก็ต้องเลือกประเภทคำร้องให้ถูกต้องว่าเป็นการส่งคืนที่สั่งปล่อยจากระบบ eMT Online หรือส่งคืนที่สั่งปล่อยจากระบบอื่น เป็นต้น

  8. บริษัทฯ ยังไม่เคยใช้บริการระบบ eMT และยังไม่ได้รับการอบรมจากเจ้าหน้าที่ จะสามารถยื่นงานผ่านระบบ eMT Online ได้หรือไม่
    A: บริษัทสามารถใช้บริการ Counter Service โดย
    1. สมัครเข้าใช้บริการระบบ eMT Online กับสมาคม และศึกษาวิธีการใช้งานจาก User Manual เพื่อจัดเตรียมข้อมูลบัญชีรายการเครื่องจักรในระบบก่อน หรือ
    2. สมัครเข้าใช้บริการ Counter Service กับสมาคม เพื่อให้สมาคมจัดเตรียมข้อมูลแทนบริษัท ตามรูปแบบของระบบที่บริษัทต้องเป็นผู้ให้ข้อมูลกับสมาคม

  9. การจัดทําบัญชีแก้ไขสําหรับกรณีที่รายการจากบัญชีเดิมไม่ได้รับการอนุมัติ มายื่นขอแก้ไขเข้าไปใหม่นั้นจะดําเนินการได้หรือไม่ อย่างไร
    A: ไม่ได้ บริษัทต้องขออนุมัติบัญชีแก้ไข โดยเพิ่มรายการเครื่องจักรเดิม ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
      สร้างคำร้องใหม่ที่ประเภทงานขออนุมัติบัญชีรายการครื่องจักร (บัญชีแก้ไข)
    1. กรอกข้อมูลที่แท็บรายละเอียดคำร้องให้ครบสมบูรณ์และบันทึกข้อมูล
    2. กรอกข้อมูลที่แท็บรายการเครื่องจักรโดยคลิ๊กปุ่ม สร้างรายการเครื่องจักร
    3. กรอกข้อมูลรายการเครื่องจักรโดยระบุชื่อเครื่องจักร ขนาด/Spec , จำนวน , หน่วย และ ลักษณะการใช้งานของ เครื่องจักรให้ให้ครบถูกต้องสมบูรณ์
    4. ยื่นคำร้องบัญชีแก้ไขเข้าระบบ รอการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงานภายใน 30 วันทำการ

  10. คำร้องที่ถูกเจ้าหน้าที่ คืนเรื่องกลับไปที่บริษัท บริษัทต้องดำเนินการอย่างไรกับคำร้องนั้น
    A: ดำเนินการแก้ไขข้อมูลตามเหตุผลที่เจ้าหน้าที่คืนเรื่องกลับมาให้ และส่งคำร้องเข้าระบบใหม่อีกครั้ง

  11. ถ้าบริษัทฯ ไม่เคยสั่งปล่อยเครื่องจักรในระบบ eMT กับทางสมาคมฯ และมีความประสงค์จะส่งคืน / ส่งซ่อม ไม่ทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร
    A: ผู้ใช้บริการที่ต้องการส่งคืน/ส่งซ่อม สามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    1. ผู้ใช้บริการเตรียมข้อมูลที่ประเภทงาน ส่งคืน / ส่งซ่อม (ที่สั่งปล่อยฯ จากระบบอื่น) และยื่นคำร้องผ่านระบบ eMT Online กับสมาคม
    2. เจ้าหน้าที่สมาคม รับคำร้องและพิมพ์หนังสืออนุมัติให้กับเจ้าหน้าที่สำนักงานเพื่อพิจารณาอนุมัติลงนาม ภายใน 3 ชั่วโมงทำการ
    3. ผู้ใช้บริการมาติดต่อขอรับหนังสืออนุมัติคืนกับสมาคม

  12. ถ้าบริษัทฯ มีการส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมต่างประเทศ เมื่อมีการนำกลับจากส่งซ่อมบริษัทจะต้องทำอย่างไร
    A:ในระบบ eMT Online บริษัทต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
    1. สร้างคำร้องใหม่ที่ประเภทงานสั่งปล่อยนำกลับจากที่ส่งออกไปซ่อม โดยเลือกจากคำร้องเดิมที่ส่งออกไปซ่อม
    2. ยื่นคำร้องขออนุมัติสั่งปล่อยจากส่งซ่อมเข้าระบบ

  13. ถ้าบริษัทต้องการส่งเครื่องมือวัดออกไปต่างประเทศเพื่อให้บริษัทผู้ผลิตดำเนินการปรับแต่งค่าให้ได้มาตรฐาน จะต้องดำเนินการอย่างไร
    A: บริษัทต้องขออนุญาตส่งเครื่องจักรออกไปซ่อม โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
    1. สร้างคำร้องใหม่ที่ประเภทงานส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งซ่อม) สำหรับกรณีที่สั่งปล่อยด้วยระบบ eMT Online หรือ สร้างคำร้องใหม่ที่ประเภทงานส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งซ่อมที่สั่งปล่อยจากระบบอื่น) สำหรับกรณีที่สั่งปล่อยด้วยระบบ Manual, MCTS, eMT เดิม
    2. กรอกข้อมูลที่แท็บรายละเอียดคำร้องให้ครบสมบูรณ์และบันทึกข้อมูล
    3. กรอกข้อมูลที่แท็บเงื่อนไขให้ครบสมบูรณ์และบันทึกข้อมูล
    4. กรอกข้อมูลที่แท็บรายการเครื่องจักรให้ครบสมบูรณ์และบันทึกข้อมูล
    5. ยื่นคำร้องส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมเข้าระบบ รอการพิจารณาอนุมัติ ได้รับหนังสืออนุญาตส่งซ่อมและรายงานภายใน 3 ชั่วโมง
    6. ดำเนินการส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมตามหนังสืออนุญาตส่งซ่อมและรายงานกับศุลกากร
    7. กรอกข้อมูลยืนยันการส่งซ่อมที่แท็บยืนยันการส่งซ่อมเพื่อให้ระบบบันทึกรายการที่ส่งออกไปซ่อมเก็บไว้ในบัญชีส่งซ่อม เพื่อรองรับการนำกลับเข้ามาใหม่หลังจากที่ซ่อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    8. สร้างคำร้องใหม่ที่ประเภทงานสั่งปล่อย/ถอนค้ำประกันเครื่องจักร โดยเลือกจากคำร้องเดิมที่ส่งออกไปซ่อม
    9. ยื่นคำร้องขออนุมัติสั่งปล่อยเข้าระบบ

  14. ในกรณีที่ต้องการใช้สิทธิ์หลายประเภทในแต่ละรายการของ Invoice ฉบับเดียวกัน บริษัทต้องคีย์ข้อมูลในระบบ eMT Online อย่างไร
    A: ผู้ใช้บริการต้องกรอกข้อมูลโดยเลือกประเภทงานที่ต้องการใช้สิทธิ์ ตามรายการสินค้าที่ระบุใน Invoice โดยอ้างอิงลำดับรายการในอินวอยซ์ และลำดับรายการในใบขน ให้ตรงกับที่ Shipping ได้ท า Draft ใบขนไว้

  15. ถ้าบริษัทต้องการเลือกรายการเครื่องจักรจากบัญชีที่ได้รับการอนุมัติมาสั่งปล่อยแต่ระบบไม่แสดงรายการนั้นให้เลือก จะต้องทำอย่างไร
    A: ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นจาก รายงานสรุปการสั่งปล่อยเครื่องจักร ว่ามียอดคงเหลือ อยู่อีกหรือไม่

  16. บริษัทต้องการสมัครเข้าใช้งานระบบ eMT Online จะต้องใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้างและมีวิธีการดําเนินการอย่างไร
    A: บริษัทต้องเตรียมหลักฐานการสมัคร ดังนี้
    1. ใบสมัครเข้าใช้งานระบบ eMT Online
    2. สำเนาบัตรส่งเสริม กรณีบัตรยังไม่ออกให้ใช้หนังสือตอบรับมติ
    3. สำเนาเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทฯ
    4. ข้อตกลงการเข้าใช้งานระบบ

  17. บริษัทไม่สามารถยื่นคําขออนุมัติบัญชีเครื่องจักรได้ ระบบเตือนว่า "ไม่พบผู้อนุมัติ" ต้องดําเนินการแก้ไขอย่างไร
    A: พนักงานสมาคมประสานงานแจ้งสบท.ที่เกี่ยวข้องเพื่อ กำหนดชื่อเจ้าหน้าที่ผู้อนุมัติ 3 ระดับในระบบ

  18. บริษัทไม่สามารถสั่งปล่อยเครื่องจักรได้ ระบบเตือนว่าเกินกําหนดระยะเวลาที่นําเข้า ทั้งที่บริษัทได้รับอนุมัติให้ขยายเวลานําเข้าแล้ว กรณีนี้ต้องดําเนินการแก้ไขอย่างไร
    A: พนักงานสมาคมขอข้อมูลเอกสารแนบท้ายที่ระบุว่าได้รับการขยายเวลา และประสานงานแจ้ง สสท. เพื่อแก้ไขขยายระยะเวลานำเข้าในฐานข้อมูล One DB และ Update ระยะเวลาในระบบ eMT Online

  19. บริษัทไม่สามารถเลือกสภาพเครื่องจักรเก่าได้ ทั้งที่ในโครงการได้รับอนุญาตให้นําเครื่องเก่ามาใช้ได้
    A: พนักงานสมาคมขอข้อมูลเอกสารบัตรส่งเสริมประสานงานแจ้ง สสท.เพื่อแก้ไข Type ของเครื่องจักรที่นำเข้าในฐานข้อมูล One DB และ Update สภาพของเครื่องจักรในระบบ eMT Online

  20. รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กําลังการผลิตไม่ถูกต้องตามบัตรส่งเสริมต้องดําเนินการแก้ไขอย่างไร
    A: พนักงานสมาคมขอข้อมูลเอกสารบัตรส่งเสริมประสานงานแจ้ง สสท.เพื่อแก้ไข รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กำลังการผลิตในฐานข้อมูล One DB และ Update ในระบบ eMT Online

  21. บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมจากสํานักงานแล้ว แต่ในระบบ eMT Online ไม่มีข้อมูลบัตรส่งเสริมดังกล่าวให้ทํางาน ต้องดําเนินการแก้ไขอย่างไร
    A: พนักงานสมาคมขอข้อมูลเอกสารบัตรส่งเสริมประสานงานแจ้ง สสท.เพื่อเพิ่มเติมในฐานข้อมูล One DB และ Update บัตรใหม่ในระบบ eMT Online

  22. ประเภทงานขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรหลังเดินพิธีการหมายถึงอะไร และมีประเภทงานอะไรบ้าง
    A: งานที่ผ่านพิธีการนำเข้าเครื่องจักรมาโดยการชำระอากร หรือใช้ธนาคารค้ำประกัน คืองานสั่งปล่อยคืนอากร และ งานถอนการใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร

  23. ถ้าบริษัทนําเข้าเครื่องจักรที่ส่งออกไปซ่อมโดยการชําระภาษีค่าซ่อมไปก่อน บริษัทจะสามารถขอคืนอากรค่าซ่อมได้หรือไม่ เพราะอะไร
    A: สามารถคืนอากรค่าซ่อมได้โดยให้บริษัทยื่นคำร้องงานสั่งปล่อยนำกลับจากส่งซ่อม(ยกเว้นอากรค่าซ่อม)

  24. กรณีที่มีการส่งเครื่องจักรไปซ่อมแซมต่างประเทศ อินวอยซ์ที่นําเข้าแยกรายการเครื่องจักรกับรายการค่าซ่อม เป็นคนละอินวอยซ์ บริษัทจะต้องทําอย่างไร
    A: การสั่งปล่อยนำกลับเครื่องจักรที่ส่งออกไปซ่อม สำนักงานจะให้สิทธิ์ในการยกเว้นอากรค่าซ่อม ส่วนรายการเครื่องจักรบริษัทสามารถใช้ใบสุทธินำกลับแทน ดังนั้น ให้บริษัทสั่งปล่อยสำหรับอินวอยซ์ที้ป็นค่าซ่อม

  25. กรณีที่ shipping คีย์ชื่อรายการเครื่องจักรผิดและกรมศุลกากรอนุมัติออกของเรียบร้อยแล้ว จะกลับไปแก้ไขได้อย่างไร และถ้าแก้ไขไม่ได้จะมีปัญหาทางภาษีหรือไม่ อย่างไร
    A: ถ้าพบว่ารายการที่ขออนุมัติไม่ตรงกับรายการที่ระบุในใบขนสินค้าสามารถทำหนังสือถึง สพท.ให้ออกหนังสือเพื่อชี้แจงกรมศุลกากรในภายหลัง

  26. ชื่อเครื่องจักรในใบขนจะต้องตรงกับรายการที่ขอในบัญชีเครื่องจักรหรือไม่ และถ้ารายการเครื่องจักรไม่ตรงกับบัญชี จะต้องทําอย่างไร
    A: ชื่อเครื่องจักรจะต้องตรงกันทั้งในส่วนของ Invoice ใบขน และบัญชี หากไม่ตรงกันสามารถแก้ไขบัญชีเครื่องจักรได้ ทั้งนี้ รายการเครื่องจักรที่สั่งปล่อยไปแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้

  27. รายการสินค้าที่นําเข้าเป็น Accessories ของเครื่องจักร จําเป็นจะต้องอ้างอิงรายการในบัญชีหรือไม่
    A: ขึ้นอยู่ว่ารายการดังกล่าวเป็นการน าเข้าแบบ Partial Shipment หรือไม่ ถ้าใช่ต้องนำรายการดังกล่าวขออนุมัติบัญชีในรูปแบบ BOM แต่ถ้าไม่ใช่รายการนั้นนำเข้ามาพร้อมกับตัวเครื่องจักรและ shipping ทำใบขนเป็นอย่างไร

  28. การขอเพิ่มรายการเครื่องจักรสามารถขอเพิ่มได้ทั้งหมดกี่ครั้ง
    A: ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการแก้ไข ทั้งนี้ จะสามารถขอเพิ่มรายการเครื่องจักรได้ตามระยะเวลาสิ้นสุดสิทธิ

  29. ถ้ามีการขอเพิ่มรายการเครื่องจักรในเดือนตุลาคม 2556 และบริษัทไม่สามารถทําการขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรภายในเดือนตุลาคม 2556 จึงต้องขอสั่งปล่อยในเดือน พฤศจิกายน 2556 แทน ไม่ทราบว่าจะดําเนินการได้หรือไม่
    A: สามารถขออนุมัติสั่งปล่อยในเดือนพฤศจิกายน 2556 ได้ตามปกติ ภายใต้ระยะเวลาสิทธิ์ที่นำเข้า

  30. ถ้าหากยื่นรายการ BOM เรียบร้อยแล้วพบว่าในภายหลังยังมีส่วนประกอบของเครื่องจักรเพิ่มขึ้นสามารถขอเพิ่มรายการ BOM หรือเพิ่มจํานวนภายใต้ชื่อสินค้าตัวเดิมได้หรือไม่
    A: ไม่ได้ ให้ขอเป็นบัญชีอะไหล่แทน

  31. รายการ BOM สามารถขอเพิ่มรายการชื่อรองได้หรือไม่
    A: ไม่สามารถขออนุมัติชื่อรองได้

  32. การยกเลิกหนังสือขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักร จะทําได้ด้วยวิธีใด
    A: ดำเนินการยกเลิกผ่านระบบ eMT Online โดยถ้าเป็นการยกเลิกงานก่อนเดินพิธีการจะไม่มีหนังสือยกเลิกออกจากระบบให้ แต่ถ้าเป็นการยกเลิกงานหลังเดินพิธีการจะมีหนังสือยกเลิกออกจากระบบ

  33. การใช้งานระบบ eMT Online สามารถผ่านพิธีการเคลียร์ของกับทุกด่าน ของกรมศุลกากรใช่หรือไม่
    A: สามารถใช้เดินพิธีการเคลียร์ของได้ทุกด่าน ตามที่ของตกมาถึงได้

  34. ถ้า 1 Shipment มี 2 อินวอยซ์ อินวอยซ์ที่ 1 เป็นเครื่องจักร อินวอยซ์ที่ 2 เป็นวัตถุดิบ เวลาขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรจะต้องเรียงลําดับที่อย่างไร และทําใบขนอย่างไร
    A: สั่งปล่อยรายการวัตถุดิบและรายการเครื่องจักรแยกตาม Invoice ในส่วนของการทำใบขนสามารถแยก หรือรวมกันก็ได้ ทั้งนี้ ในตอนสั่งปล่อยเครื่องจักรให้ยึดลำดับที่จริงตามใบขน

  35. ขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรได้ 24 ชม.หรือไม่
    A:ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้นไป สามารถขออนุมัติสั่งปล่อยงานก่อนเดินพิธีการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

  36. กรณีที่สั่งปล่อยเพื่อขอคืนอากร รายการที่ขออนุมัติไว้ไม่ตรงกับใบขนขาเข้า บริษัทจะต้องดําเนินการอย่างไร
    A: ต้องขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรใหม่โดยระบุชื่อรายการเครื่องจักรให้ตรงกับใบขน

  37. การขอยกเลิกขออนุมัติสั่งปล่อย ใช้ระยะเวลาเท่าใดในการดําเนินการ และทางบริษัทสามารถสั่งปล่อยฉบับใหม่ ได้เลยหรือไม่
    A: การขอยกเลิกสั่งปล่อยดำเนินการผ่านระบบ eMT Online โดยใช้เวลาในการดำเนินการภายใน 3 ชั่วโมงทำการ ซึ่งเมื่อบริษัทได้รับการอนุมัติยกเลิกแล้วสามารถขออนุมัติสั่งปล่อยได้ทันที

  38. กรณีที่ตัดบัญชีเครื่องจักรแบบ Manual แล้ว จะต้องมาทําอะไรกับระบบหรือไม่
    A: ไม่ต้องดำเนินการใดๆผ่านระบบ

  39. กรณีที่บริษัทได้รับการขยายระยะเวลานําเข้าเครื่องจักรกับสํานักงานแล้ว สํานักงานจะใช้เวลาในการแก้ไขข้อมูลในระบบภายในกี่วันทําการ
    A: สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศการลงทุนจะนำเอกสารที่ได้รับการแก้ไข (แนบท้ายบัตร) ไปดำเนินการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลกลางให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการ

  40. ระยะเวลาการขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรใช้ระยะเวลาเท่าไร
    A: ระบบจะดำเนินการอนุมัติภายใน 1 ชั่วโมงทำการ

  41. กรณีที่บริษัทได้ขออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ และทางบีโอไออนุมัติเรียบร้อยแล้ว แต่พบว่าทางผู้ขายแจ้งว่าไม่ต้องส่งเครื่องจักรคืน บริษัทจะต้องทําการยกเลิกกับบีโอไอหรือไม่ และจะมีผลอย่างไร บริษัทต้องโดนเสียภาษีหรือไม่
    A: คีย์คำร้องขอยกเลิกส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศผ่านระบบ eMT Online และไม่มีผลที่จะต้องชำระภาษี

  42. กรณีที่มีการใส่รายละเอียดกําลังการผลิตผิดพลาด จะต้องดําเนินการแก้ไขอย่างไร หากไม่ดําเนินการแก้ไขจะมีผลกระทบหรือไม่
    A: ถ้ารายการดังกล่าวยังไม่ได้ถูกเลือกมาสั่งปล่อยสามารถยื่นขออนุมัติแก้ไขอื่นๆ ผ่านระบบ eMT Online ได้

  43. ขั้นตอนการผลิตจําเป็นต้องตรงกับข้อมูลที่แสดงในหนังสือแจ้งมติหรือไม่ อย่างไร
    A: ควรจัดทำขั้นตอนการผลิตให้ตรงกับเอกสารวาระที่แนบไปพร้อมกับหนังสือแจ้งมติ เพื่อง่ายต่อการพิจารณาสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้อนุมัติบัญชี

  44. รายการเครื่องจักรในอินวอยซ์เป็นชื่อเดียวกัน แต่คนละ S/N เอามารวมเป็นรายการเดียวกันได้หรือไม่
    A: หากมีการระบุ Serial Number ลงใน Invoice จะไม่สามารถรวมรายการได้

  45. กรณีที่ขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรตามสิทธิ ข้อมูลจะถูกส่งไปที่กรมศุลกากร แต่ในภายหลังพบว่าสั่งปล่อยผิด บริษัทจะต้องทําอย่างไร
    A: ถ้ายังไม่ได้เดินพิธีการสามารถขอยกเลิกแล้วสั่งปล่อยได้

  46. ในกรณีที่บัญชีอะไหล่ยังไม่ได้รับการพิจารณา แต่สินค้ามาถึงด่านแล้ว ทางบริษัทจึงได้ยื่นคําขอผ่อนผันการใช้ธนาคารค้ําประกันโดยการ Up load พบว่าหลังจาก Up load แล้วมีเครื่องหมาย ? เกิดขึ้นและผ่านการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว ต่อมาในภายหลังได้นําชื่อตามที่ค้ำประกันไว้ไปทําบัญชีซึ่งมีสัญลักษณ์ ? ติดอยู่ และไม่สามารถถอนค้ำประกันได้ บริษัทจะต้องดําเนินการแก้ไขอย่างไร
    A: สัญลักษณ์ ? เกิดจากการคีย์ตัวอักขระพิเศษ ลงใน Excel File ซึ่งระบบจะไม่ยอมรับ ในตอนคีย์ชื่อรายการห้ามตัวอักขระดังกล่าวไป

  47. ในใบขนสินค้าขาเข้า จําเป็นต้องระบุ Model ของตัวสินค้าหรือไม่
    A: ให้ระบุชื่อให้ตรงตาม Invoice หากใน Invoice มี Model ก็ให้ระบุเช่นเดียวกันในใบขน

  48. การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ถ้าชื่อรายการสินค้าที่นําเข้า AN Catalyst กับชื่อรายการสินค้าที่ส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ AN Catalyst (Fiuidized Bed Catalyst)(Support Catalyst) จะมีปัญหาหรือไม่
    A: ในตอนสั่งปล่อยจากส่งซ่อมชื่อจะต้องตรงกับชื่อที่ส่งซ่อมออกไป ซึ่งระบบจะเปิดช่องชื่อรายการเครื่องจักรให้คีย์ชื่อลงไปได้

  49. บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมแล้วแต่ยังไม่ได้ทําบัญชีเครื่องจักร แต่มีการทยอยนําเครื่องจักรเข้ามาเท่ากับว่าต้องใส่หน้าใบขน "สงวนสิทธิ BOI" เพื่อขอคืนอากร แล้วให้ Shipping ออกของ ส่วนสั่งปล่อยปกติ หลังจากนั้นค่อยมาเข้าสู่กระบวนการขออนุมัติบัญชี และสั่งปล่อยใช่หรือไม่
    A: สามารถชำระอากรไปก่อนได้เหมือนเดิม หลังจากนั้นจึงทาบัญชีรายการเครื่องจักรให้ตรงตามใบขน และขออนุมัติสั่งปล่อยแบบคืนอากรภายหลัง

  50. ทางบริษัทต้องการว่าจ้างบริษัทต่างชาติให้เข้ามาติดตั้งเครื่องจักร BOI ซึ่งบริษัทต่างชาติต้องนําพนักงานเข้ามาประมาณ 60-80 คน และนําเครื่องมือสําหรับติดตั้ง 1 ตู้ Container การส่งเครื่องมือกลับจะดําเนินการอย่างไร
    A: ดำเนินการขออนุญาตส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศผ่านระบบ eMT Online

  51. ขั้นตอนการผลิตบริษัทคีย์ข้อมูลไม่ถูกต้อง จะสามารถลบ ขั้นตอนที่ผิดออกได้หรือไม่ ? ถ้าลบได้จะต้องทําอย่างไร
    A: ไม่สามารถลบขั้นตอนการผลิตที่ผ่านการอนุมัติไปแล้วได้

  52. ถ้ามีการขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรผ่านระบบ eMT Online แล้วพบว่าหนังสืออนุมัติไม่ถูกต้อง สามารถที่จะยกเลิกในระบบโดยที่ค้นหาเลขที่อนุมัติได้หรือไม่
    A: ไม่ได้ เมื่อเลือกเมนูยกเลิกสั่งปล่อยเครื่องจักร จะแสดงคำร้องที่ได้สั่งปล่อยไปแล้วขึ้นมา ให้เลือกคำร้องที่ต้องการยกเลิกจาก "เลขที่คำร้อง"

  53. ในกรณีเครื่องจักรนําเข้ามา 1 Set = 6 pcs ต้องการส่งออกไปซ่อม เพียง 1 Pcs สามารถทําได้หรือไม่ และการสําแดงในใบขนอย่างไร
    A: สามารถทําได้ และสําแดงจํานวนในใบขนให้ตรงกับจํานวนตามจริงที่ส่งออกไปซ่อม

  54. โดยปกติแล้วในการนําเข้า-ส่งออก (เครื่องจักร, แม่พิมพ์, Material) เราจะใช้ทาง Shipping เป็นคนดําเนินการให้ทั้งหมด แต่ถ้าเริ่มใช้ระบบ eMT Online แล้ว เรายังจะใช้ Shipping ได้หรือไม่
    A: สามารถใช้บริการบริษัทตัวแทนออกของ Shipping เหมือนเดิม

  55. ในกรณีใบขนใบเดียวมีการสั่งปล่อยทั้งในระบบ RMTS และ eMT และมี Inv. มากกว่า 1 Inv.สามารถกระทําได้หรือไม่
    A: สามารถทำได้ เงื่อนไขของระบบ eMT Online กำหนดว่า 1 คำร้อง/1 Invoice

  56. หากมีรายการส่งซ่อมและนํากลับเข้ามา แต่ใน Invoice ที่นํากลับเข้ามามีรายการเครื่องจักรตัวใหม่มาด้วย จะต้องระบุใน Invoice แยกด้วยหรือไม่
    A: ต้องระบุแยกรายการและสั่งปล่อยแยกประเภทกัน สำหรับรายการที่นำกลับจากส่งซ่อมให้เลือกประเภทการสั่งปล่อยเป็น สั่งปล่อยจากส่งซ่อม

  57. กรณีนําเครื่องจักรมาจากต่างประเทศ แต่จะส่งเพียงอะไหล่บางส่วนของเครื่องจักรนี้ไปซ่อมจะต้องทําอย่างไร
    A: ในตอนส่งซ่อมให้เลือกเป็นชื่อรายการที่ส่งซ่อมไม่ตรงกับชื่อรายการในบัญชี และให้ระบุชื่ออะไหล่ลงในช่องชื่อรายการแทน

  58. กรณีที่นําเข้าอะไหล่ Jig, Fixture, Mold, เราจะอ้างอิงกับรายการเครื่องจักรนั้นอย่างไร เพราะในระบบไม่สามารถอ้างอิงได้
    A: รายการแม่พิมพ์ ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ อะไหล่ของแม่พิมพ์ ให้ขอไว้ในข่ายของบัญชีแม่พิมพ์โดยผูกความสัมพันธ์กับขั้นตอนการผลิต

  59. กรณีขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรแบบ BOM แต่เมื่อถึงเวลานําเข้ามีบางรายการที่ไม่ได้แจ้งไว้ใน Master list ต้องทําอย่างไร ต้องแยกออกจาก Invoice ที่ได้รับอนุมัติหรือไม่
    A: ถ้ารายการ BOM ดังกล่าวยังไม่เคยขออนุมัติสั่งปล่อย สามารถขอเพิ่มรายการ BOM ได้โดยให้ขออนุมัติบัญชีแก้ไขแบบอื่นๆ

  60. การขออนุมัติสั่งปล่อยอะไหล่ ในรายงานระบุว่าเป็นเครื่องจักรใหม่ ในกรณีดังกล่าวถือว่าเป็นกรณีปกติหรือไม่ และนําไปใช้ต่อไปหรือไม่
    A: ถือว่าเป็นรายการอะไหล่ใหม่ หากข้อมูลถูกต้องตามจริง สามารถเดินพิธีการได้ตามปกติ

  61. กรณีได้รับอนุมัติสั่งปล่อยแล้ว จากนั้น Shipping ส่งตั๋วใบขนผ่านระบบ Paperless แล้วตรวจพบว่าใบอนุมัติผิดพลาด จําเป็นต้องยกเลิกใบสั่งปล่อยในขณะที่สินค้ายังอยู่ในอารักขาศุลกากร ต้องดําเนินการอย่างไร
    A: ดำเนินการขอยกเลิกสั่งปล่อยในระบบ eMT Online ตามสาเหตุข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

  62. ในการขอเพิ่มรายการเครื่องจักรเราทราบได้หรือไม่ว่าอนุมัติไปถึงไหนแล้ว และถ้ามีการซื้อเครื่องจักรในระบบเดิมโอนมาระบบ eMT Online นั้นมีการใส่ข้อมูลการผลิตไว้เต็มจํานวนแต่ไม่ผลิตได้ตามนั้น จึงนําเครื่องจักรมาเพื่อเพิ่มกําลังการผลิตให้ครบตามโครงการ จะต้องทําการแก้ไขของตัวเครื่องจักรเดิมและเพิ่มรายการเครื่องจักรใหม่ที่ได้ขยายเวลานําเข้าเครื่องจักรไว้ ดังนั้น เครื่องจักรรวมทั้งหมดจะต้องไม่เกินตามโครงการ และรายละเอียดที่บอกว่าต้องใส่ให้ละเอียด ต้องละเอียดมากขนาดไหน
    A:สามารถตรวจสอบผลการพิจารณาได้ที่เมนูคำขอที่อยู่ระหว่างรออนุมัติ/แก้ไข ในส่วนของรายละเอียดการใช้งาน ให้อธิบายถึงลักษณะการใช้งานจริง รวมถึง Spec เป็นต้น

  63. ปัจจุบันงานสั่งปล่อยเครื่องจักรไม่มีเอกสารออกจากระบบหาต้องการตรวจสอบข้อมูลเพื่อส่งให้ Shipping ดําเนินการจัดทําใบขนต้นฉบับ จะต้องทําอย่างไร
    A: รายละเอียดของข้อมูลสามารถ Export ออกมาในรูปแบบของ Excel File ได้

  64. วันที่ทําการสั่งปล่อยจะต้องเป็นวันเดียวกันกับวันที่นําเข้าหรือไม่
    A: วันที่นำเข้าต้องอยู่ภายใต้ช่วงระยะเวลาสิทธิ์เท่านั้น

  65. หน่วยที่ใช้อ้างอิงจากกรมศุล Piece or Unit ในหนังสือสั่งปล่อยแสดงหน่วยเป็น C62 เท่านั้น เมื่อบริษัทนําไปเดินพิธีการ ไม่สามารถเดินพิธีได้ เนื่องจากหน่วยไม่ตรงกับ อินวอยซ์ (อินวอยซ์เป็น Unit) ทําให้บริษัทเสียสิทธิในการยกเว้นภาษี ทางเจ้าหน้าที่ศุลกากรแจ้งให้แก้ไขหนังสือสั่งปล่อยหน่วย C62 เป็น Unit ในระบบ eMT Online บริษัทจะต้องทําอย่างไร
    A: หน่วยสินค้า Piece or Unit ตรงตามรหัสหน่วยของกรมศุลกากรคือ C62

  66. ถ้าบริษัทไม่มีเครื่องจักรนําเข้ามาใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมเป็นกิจการที่รับจ้างผลิต มีแต่แม่พิมพ์เท่านั้น ต้องขออนุมัติบัญชีมาพิมพ์อย่างไร
    A: ให้ระบุชื่อเครื่องจักรของบริษัทที่ว่าจ้างผลิตมา 1 รายการ ระบุจำนวนเป็น 0.5 SET และผูกความสัมพันธ์กับขั้นตอนการผลิตของโครงการ

  67. กรณีนําเข้าเครื่องจักรในลักษณะ Partial Shipment ให้ระบุรายการนําเข้าเป็นแบบ BOM (Bill of Material) โดยชื่อเครื่องจักรที่ระบุใน BOM จะเป็นชื่อที่ถูกสั่งปล่อยตามอินวอยซ์ใช่หรือไม่
    A: กรณีนำเข้าเครื่องจักรที่มีการนำเข้าหลายครั้งในลักษณะ Partial Shipment เพื่อนำมาประกอบเป็นเครื่องจักร Complete set สามารถยื่นขอหลายเครื่องได้ในรายการเดียวกัน (ชื่อรายการใน Bom ต้องตรงกับอินวอยซ์) ยกตัวอย่าง เช่น ชื่อเครื่องจักร GAS TURBINE 1 SET รายการที่ต้องระบุเพิ่มใน BOM คือ
    1.1 GENERATOR 5 SET
    1.2 BOILER 5 SET
    1.3 TURBINE 5 SET เป็นต้น
    การสั่งปล่อยเครื่องจักรจะสั่งปล่อยชื่อรายการสินค้าตาม BOM ที่ขอไว้ทั้ง 3 รายการโดยอ้างอิงจำนวนที่นำเข้าตามอินวอยซ์ฉบับนั้นเป็นหลัก

  68. การขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรสําหรับรายการที่ค้ำประกันไว้จะต้องดําเนินการอย่างไร
    A: ต้องระบุรายละเอียดของชื่อเครื่องจักร การใช้งาน หน่วย สภาพเครื่องจักร ให้ตรงตามที่ค้ำประกันไว้

  69. การขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรสําหรับรายการที่เป็นเครื่องจักรเก่า (Used Machine) ต้องกรอกข้อมูลในระบบอย่างไร
    A:
    • ระบุคำว่า Used นำหน้าชื่อเครื่องจักร
    • ระบุ Serial No. ต่อท้ายชื่อเครื่องจักร
    • ระบุปีที่ผลิต (ไม่เกิน 10 ปี) Year Of MFG ต่อท้าย Serial No.
    *** ตัวอย่าง Used Grinding Machine Serial No. 1234 Year of MFG 2009

  70. การขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรกรณีที่เป็นเครื่องจักรที่มีฟังก์ชั่นการทํางานเหมือนกัน แต่ชื่อเรียกของผู้ขายที่ระบุตามอินวอยซ์ต่างกัน ไม่ตรงกับบัญชีที่ได้รับอนุมัติ ต้องดําเนินการอย่างไร
    A: ให้ดำเนินการขออนุมัติบัญชีเพิ่มรายการชื่อรอง

  71. การขออนุญาตผ่อนผันใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักรในกรณีที่เป็นการนําเข้ารายการเครื่องจักร รายการอะไหล่ และรายการแม่พิมพ์ อยู่ในอินวอยซ์เดียวกันต้องกรอกข้อมูลในระบบอย่างไร
    A: กรอกข้อมูลตามรายละเอียดที่ปรากฏในอินวอยซ์และใบขนฉบับร่าง (Draft) โดยระบุประเภทของรายการให้ตรงกับสินค้าว่าอยู่ในข่ายของเครื่องจักร อะไหล่ หรือ แม่พิมพ์ และเมื่อทำบัญชีรายการเครื่องจักรเพื่อขออนุมัติถอนการใช้ธนาคารค้ำประกัน ต้องระบุประเภทของสินค้าให้ตรงตามที่ค้ำประกันไว้ด้วย

  72. การขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรสามารถระบุจํานวนเลขที่อินวอยซ์ได้กี่ตัวอักษร
    A: ระบุเลขที่อินวอยซ์ได้ไม่เกิน 35 ตัวอักษร

  73. การขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรต้องระบุประเภทของอินวอยซ์ด้วยหรือไม่
    A: การกรอกข้อมูลในระบบ ไม่ต้องใส่ประเภทของอินวอยซ์ที่นำเข้า ให้ระบุเฉพาะเลขที่อินวอยซ์เท่านั้น (Invoice Number)

  74. ถ้าบริษัทต้องการสั่งปล่อย 2 อินวอยซ์ และทั้ง 2 อินวอยซ์ถูกรวมเป็นใบขนเดียวกัน บริษัทต้องเตรียมข้อมูลในระบบอย่างไร
    A: เงื่อนไขของการสั่งปล่อยเครื่องจักร ระบบให้ทำการสั่งปล่อย 1 คำร้อง/อินวอยซ์/เลขที่ อก. ซึ่งการระบุข้อมูลลำดับรายการในอินวอยซ์ และลำดับรายการในใบขน ให้อ้างอิงข้อมูลตามลำดับรายการของแต่ละอินวอยซ์ และลำดับรายการในใบขนที่เรียงลำดับรายการของทั้ง 2 อินวอยซ์ไว้แล้ว เช่น อินวอยซ์ A มี 2 รายการ อินวอยซ์ B มี 3 รายการ ถ้าบริษัทต้องการสั่งปล่อยรายการที่ 1 ของอินวอยซ์ B ต้องใส่ลำดับรายการในอินวอยซ์เป็น ลำดับที่ 1 และลำดับรายการในใบขนเป็นลำดับที่ 3 เป็นต้น

  75. การส่งคืน/ส่งซ่อมเครื่องจักร สําหรับรายการที่เป็นเครื่องจักรหลัก และโครงการมีระยะเวลานําเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดแล้ว คําร้องที่บริษัทส่งเข้ามาจะผ่านการพิจารณาอนุมัติที่สมาคมหรือไม่
    A: เครื่องจักรหลัก ที่มีระยะเวลานำเข้าสิ้นสุดแล้ว คำร้องจะถูกส่งเรื่องไปให้เจ้าหน้าที่สำนักงาน (BOI) ตามสำนักบริหารการลงทุนที่บริษัทสังกัด และผ่านการพิจารณาอนุมัติ 3 ระดับ โดยบริษัทต้องไปติดต่อขอรับหนังสืออนุมัติที่สำนักบริหารการลงทุนนั้นหลังจากที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติแล้ว

  76. การส่งคืน/ส่งซ่อมเครื่องจักรไปต่างประเทศ เมื่อบริษัทได้รับหนังสืออนุมัติจากสมาคม และนําไปผ่านพิธีการขาออกที่กรมศุลกากรแล้ว บริษัทต้องดําเนินการอย่างไรในระบบอีกหรือไม่
    A: บริษัทต้องเข้าไปยืนยันการส่งคืน/ส่งซ่อม ในระบบ โดยให้เข้าไปในเมนู "คำขอที่อยู่ในขั้นตอนการอนุมัติ/แก้ไข" เพื่อยืนยันการส่งคืน/ส่งซ่อมเครื่องจักร (รับผลการพิจารณา)

  77. บริษัททําการส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมด้วยระบบ eMT (เดิม) แต่ตอนนี้บริษัทได้เข้าใช้งานด้วยระบบ eMT Online แล้ว ถ้าบริษัทต้องการสั่งปล่อยนํากลับเครื่องจักรที่ส่งออกไปซ่อมจะต้องดําเนินการอย่างไร
    A: บริษัทต้องดำเนินการสร้างคำร้องงานส่งซ่อมหลอกในระบบ eMT Online และส่งเรื่องเข้ามาเป็นข้อมูลตั้งต้นในระบบก่อน เพื่อรองรับการสั่งปล่อยนำกลับเครื่องจักรที่ส่งไปซ่อมเข้ามาอีกครั้ง โดยให้บริษัทดำเนินการตามรายละเอียด ดังนี้
    1. บริษัทสร้างคำร้องส่งซ่อมหลอก (ส่งซ่อมที่สั่งปล่อยจากระบบอื่น) โดยอ้างอิงข้อมูลการส่งซ่อมตามที่เคยส่งคำร้องด้วย ระบบ eMT (เดิม) และให้หมายเหตุว่า "ส่งซ่อมหลอก เนื่องจากได้ส่งซ่อมจริงในระบบ eMT (เดิม) แล้ว ตามเลขที่อนุมัติ ที่ อก.............ลงวันที่.............. เพื่อต้องการสั่งปล่อยนำกลับเครื่องจักรที่ส่งออกไปซ่อม" จากนั้นให้ส่งคำร้องเข้าระบบ
    2. สมาคมรับคำร้องประมวลผลตามขั้นตอนโดยพิมพ์หนังสืออนุมัติออกจากระบบแต่ไม่เสนอเจ้าหน้าที่ BOI พิจารณาลงนาม
    3. สมาคมนำหนังสืออนุมัติแนบไฟล์คืนให้บริษัท
    4. บริษัททำการยืนยันการส่งซ่อม ด้วยวิธีการรับผลการพิจารณา (เพื่อให้ระบบเก็บข้อมูลการส่งซ่อมรองรับการสั่งปล่อย นำกลับเข้ามาใหม่)
    5. บริษัท สามารถสร้างคำร้องสั่งปล่อยนำกลับเครื่องจักรที่ส่งซ่อมหลอกเข้ามาได้ ตามปกติ

  78. บริษัทยังมีรายการส่งซ่อมค้างอยู่และยังไม่ได้นำกลับเข้ามา บริษัทควรทำอย่างไร และมีข้อแนะนำอย่างไร
    A: บริษัทต้องตรวจสอบระยะเวลานำเข้าว่ามีคงเหลืออยู่หรือไม่ ถ้ามีก็สามารถขออนุมัติสั่งปล่อยนำกลับรายการที่ส่งออกไปซ่อมได้ แต่ถ้าระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรหมดแล้ว ก็ต้องตรวจสอบว่าในขั้นตอนการส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมนั้น บริษัทได้ทำใบสุทธินำกลับกับกรมศุลไว้หรือไม่ ถ้าทำไว้ ก็สามารถเสียภาษีค่าซ่อมนำกลับเครื่องจักรตัวนั้นเข้ามาได้

  79. ถ้าบริษัทได้รับส่งเสริมประเภทกิจการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเครื่องจักรส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยไม่ได้อยู่ในกรรมวิธีหรือส่วนของการผลิต จําเป็นต้องแจ้งกรรมวิธีการผลิตหรือไม่ และต้องดําเนินการอย่างไร
    A: การทำบัญชีรายการเครื่องจักรด้วยระบบ eMT Online อุตสาหกรรมทุกประเภท ต้องสร้างขั้นตอนการผลิต และระบุให้ได้ว่าเครื่องจักรที่ใช้ในกิจการดังกล่าวถูกใช้ในขั้นตอนการผลิตใด

  80. ประเภทงานก่อนเดินพิธีการ (Paper less) มีอะไรบ้าง
    A:
    1. งานขออนุมัติสั่งปล่อยแบบปกติ
    2. งานขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร
    3. งานขออนุมัติสั่งปล่อยนำกลับเครื่องจักรที่ส่งออกไปซ่อม
    4. งานขออนุมัติยกเลิก (ข้อ 1- 3)

  81. ประเภทงานหลังเดินพิธีการ (Paper) มีอะไรบ้าง
    A:
    1. งานขออนุมัติสั่งปล่อยแบบคืนอากร
    2. งานขออนุมัติถอนการใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร
    3. งานขออนุมัติขยายเวลาค้ำประกันเครื่องจักร
    4. งานขออนุมัติสั่งปล่อยแบบคืนอากร (น ากลับจากส่งซ่อม)
    5. งานเรียกเก็บอากรกรณีถอนค้ำไม่เต็มจ านวน
    6. งานเรียกเก็บอากรกรณีบริษัทขอเสียภาษีอากร
    7. งานขออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน)
    8. งานขออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งซ่อม)
    9. งานขอเปลี่ยนสถานะจากส่งซ่อมเป็นส่งคืน
    10. งานขออนุมัติยกเลิก (ข้อ 1-9)

  82. ถ้าบริษัทต้องการนําเข้าแม่พิมพ์โดยตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ใช้เครื่องจักรที่นําเข้ามาโดยอัตราอากรเป็น 0% บริษัทต้องขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรอย่างไร
    A: บริษัทต้องขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
    1. สร้างคำร้องใหม่ที่ประเภทงานขออนุมัติบัญชีรายการครื่องจักร
    2. กรอกข้อมูลที่แท็บรายละเอียดคำร้องให้ครบสมบูรณ์และบันทึกข้อมูล
    3. กรอกข้อมูลที่แท็บรายการเครื่องจักรโดยคลิ๊กปุ่ม สร้างรายการเครื่องจักร
    4. กรอกข้อมูลรายการเครื่องจักรโดยระบุชื่อเครื่องจักร, ขนาด/Spec ,จ านวนให้ระบุเป็น 0.5 เครื่อง , หน่วย , และลักษณะการใช้งานของเครื่องจักรให้ให้ครบถูกต้องสมบูรณ์
    5. ยื่นคำร้องบัญชีรายการเครื่องจักรเข้าระบบ รอการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงานภายใน 60 วันทำการ

  83. กรณีที่ Shipping ส่งข้อมูลใบขนเข้าระบบของกรมศุลกากรแล้วพบข้อความผิดพลาด "BOI QUOTA NUMBER MUST BE ENTERED" ต้องดําเนินการแก้ไขอย่างไร
    A: ตามข้อความผิดพลาดดังกล่าว เกิดจาก Shipping ไม่ได้ระบุเลขที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยสินค้า ในรายการที่ใช้สิทธิ์ส่งเสริมการลงทุนกับ BOI (BOI = Y) ดังนั้น สำหรับรายการสินค้าที่ขอใช้สิทธิ์กับ BOI ต้องระบุเลขที่หนังสืออนุมัติ (อก) กำกับไว้ทุกรายการ

  84. กรณีที่ Shipping ส่งข้อมูลใบขนเข้าระบบของกรมศุลกากรแล้วพบข้อความผิดพลาด "BOI LICENSE NUMBER MUST BE ENTERED" ต้องดําเนินการแก้ไขอย่างไร
    A: ตามข้อความผิดพลาดดังกล่าว เกิดจาก Shipping ไม่ได้ระบุเลขที่บัตรส่งเสริม ในรายการสินค้าที่ใช้สิทธิ์ส่งเสริมการลงทุนกับ BOI (BOI = Y) ดังนั้น สำหรับรายการสินค้าที่ขอใช้สิทธิ์กับ BOI ต้องระบุเลขที่บัตรส่งเสริม กำกับไว้ทุกรายการ

  85. กรณีที่ Shipping ส่งข้อมูลใบขนเข้าระบบของกรมศุลกากรแล้วพบข้อความผิดพลาด "INVALID COMPANY TAX NO IN BOI LICENSE" ต้องดําเนินการแก้ไขอย่างไร
    A: ตามข้อความผิดพลาดดังกล่าว เกิดจาก Shipping ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัท (TAXID) ในใบขนสินค้าไม่ตรง ดังนั้น Shipping ต้องระบุเลข (TAXID) จำนวน 13 หลักให้ตรงกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทให้ถูกต้อง

  86. การเตรียมข้อมูลผ่านโปรแกรมระบบ eMT Online ต้องนําข้อมูล Draft ใบขนสินค้าที่เกิดจากการเตรียมของ Shipping (ระบุข้อมูลลําดับรายการในอินวอยซ์+ใบขน) ในกรณีที่อินวอยซ์มีจํานวนรายการเป็นจํานวนมาก และแต่ละรายการมีการใช้สิทธิ์ BOI /ขอสงวนสิทธิ์ /หรือ เป็นรายการวัตถุดิบปะปนมา ถ้าระบุลําดับที่รายการในอินวอยซ์ และลําดับรายการในใบขนไม่ถูกต้อง จะสามารถเดินพิธีการตรวจปล่อยสินค้าได้หรือไม่
    A: โครงสร้างการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกส่งจากระบบ eMT Online ไปยังระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไปตามข้อตกลงระหว่าง BOI และกรมศุลกากร ซึ่งถ้าระบุลำดับที่รายการในอินวอยซ์ และลำดับรายการในใบขนผิด จะไม่สามารถเดินพิธีการเพื่อตรวจปล่อยสินค้าจากการอารักขาของกรมศุลกากรได้

  87. ถ้าหน่วยของรายการสินค้าที่ขออนุมัติกับสํานักงาน (BOI) ไม่ตรงตามพิกัด รหัสสถิติ/หน่วย ของกรมศุลกากร ผู้ใช้บริการสามารถส่งข้อมูลใบขนเข้าระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่
    A: หน่วยของรายการสินค้าที่นำเข้าตามอินวอยซ์ เป็นเพียงหน่วยที่ใช้ในทางการค้า ซึ่งอาจไม่ตรงกับประเภทสินค้า ตามพิกัด รหัสสถิติ/หน่วย ของกรมศุล ผู้ใช้บริการต้องไปสอบถามกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรว่าสินค้าที่นำเข้านี้อยู่ในข่ายตามพิกัด รหัสสถิติ/หน่วย ใดของกรมศุลกากร เพื่อขออนุมัติแก้ไขหน่วยกับสำนักงาน (BOI) ให้ตรงกัน

  88. กรณีนําเข้าสินค้าที่อยู่ในข่ายเดียวกัน แต่ในอินวอยซ์แยกรายการและจํานวนชัดเจน ในขั้นตอนการทําใบขน Shipping สามารถเตรียมข้อมูลเป็นรายการเดียวและรวมจํานวนได้หรือไม่ เนื่องจากใช้พิกัดเดียวกัน
    A: การทำใบขนไม่ให้รวมจำนวนของสินค้าที่เป็นของอย่างเดียวกัน พิกัดเดียวกันไว้ในรายการเดียวกัน ต้องแยกรายการและจำนวนให้ตรงตามอินวอยซ์ ยกเว้นในกรณีที่เสียภาษีเข้ามาและต้องการขอคืนอากร ให้ยึดข้อมูลตามใบขนนั้นเป็นหลัก

  89. การสั่งปล่อยคืนอากร ภายหลังนําเครื่องจักรเข้ามาแล้ว
    Invoice
    ใบขน
    - เครื่องฉีดพลาสติก 40 ton = 1 set
    - เครื่องฉีดพลาสติก 40 ton = 2 set
    - เครื่องฉีดพลาสติก 40 ton = 1 set
    - เครื่องฉีดพลาสติก 100 ton = 1 set
    - เครื่องฉีดพลาสติก 100 ton = 1 set

    ลําดับที่ใน Invoice และใบขนไม่ตรงกันสามารถขอคืนอากรได้หรือไม่
    A: สามารถสั่งปล่อยขอคืนอากรได้ โดยกรณีนี้ต้องสั่งปล่อย 2 ครั้ง เนื่องจากในคำร้องเดียวกันระบบไม่อนุญาตให้ลำดับที่ใน Invoice และ ใบขนซ้ำกัน ดังนี้
    - คําร้องที่ 1
    Invoice
    ใบขน
    เครื่องฉีดพลาสติก 40 ton ลำดับที่ 1
    เครื่องฉีดพลาสติก 40 ton ลำดับที่ 1
    เครื่องฉีดพลาสติก 100 ton = 1 set ลำดับที่ 3
    เครื่องฉีดพลาสติก 100 ton = 1 set ลำดับที่ 2

    - คําร้องที่ 2
    Invoice
    ใบขน
    เครื่องฉีดพลาสติก 40 ton ลำดับที่ 2
    เครื่องฉีดพลาสติก 40 ton ลำดับที่ 1

  90. การส่งคืน/ส่งซ่อมเครื่องจักรไปต่างประเทศ เมื่อบริษัทได้รับหนังสืออนุมัติจากสมาคม และนําไปผ่านพิธีการขาออกที่กรมศุลกากรแล้ว บริษัทต้องดําเนินการอย่างไรในระบบอีกหรือไม่
    A: บริษัทต้องเข้าไปยืนยันการส่งคืน/ส่งซ่อม ในระบบ โดยให้เข้าไปในเมนู "ค าขอที่อยู่ในขั้นตอนการอนุมัติ/แก้ไข" เพื่อยืนยันการส่งคืน/ส่งซ่อมเครื่องจักร (รับผลการพิจารณา)


views 11,519
Total pageviews 4,029,237 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.