Suji โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562, 13:06:43 (230 สัปดาห์ ก่อน)
Top

เรียน แอดมิน

บริษัทฯต้องการยกเลิกบัตรส่งเสริม มีบัตร 2 ประเภทดังนี้

  1. บัตรที่เปิดดำเนินการแล้ว
  2. บัตรที่ยังไม่เปิดดำเนินการ

บริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง เอกสารที่ต้องจัดเตรียมมีอะไรบ้างค่ะ เนื่องจากนายญี่ปุ่นต้องการให้คำนวณอัตราเงินที่ต้องชำระคืนค่ะ

ทราบว่าต้องคำนวณ 3 รายการหลักคือ 1.เรื่องภาษีนิติบุคคล 2.เรื่องเครื่องจักร 3.เรื่องวัตถุดิบ

แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากอะไรก่อนดีค่ะ 

 

ขอบคุณค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2562, 11:17:47 (230 สัปดาห์ ก่อน)
#1 Top

การขอยกเลิกบัตรส่งเสริม แบ่งเป็น 3 กรณีดังนี้

1. กรณีได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว
- เครื่องจักร หากนำเข้าเกิน 5 ปี สามารถยื่นตัดบัญชีและจำหน่ายในประเทศได้โดยไม่มีภาระภาษี
- เครื่องจักร หากนำเข้าไม่ครบ 5 ปี หากจะจำหน่ายในประเทศ ต้องยื่นขออนุญาตจำหน่าย โดยจะมีภาระภาษี ณ วันที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย
- วัตถุดิบ ยอดคงเหลือตาม MML จะมีภาระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า
- ภาษีเงินได้ หากการยื่นใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ถูกต้อง จะไม่ถูกเรียกคืนภาษี

2. กรณียังไม่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการ และยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ
- เครื่องจักร หากนำเข้าเกิน 5 ปี สามารถยื่นตัดบัญชีและจำหน่ายในประเทศโดยไม่มีภาระภาษี
- เครื่องจักร หากนำเข้าไม่ครบ 5 ปี หากจะจำหน่ายในประเทศ ต้องยื่นขออนุญาตจำหน่าย โดยจะมีภาระภาษี ณ วันที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย
- วัตถุดิบ ยอดคงเหลือตาม MML จะมีภาระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า
- ภาษีเงินได้ หากการยื่นใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ถูกต้อง จะไม่ถูกเรียกคืนภาษี

3. กรณียังไม่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการ แต่ครบกำหนดเปิดดำเนินการแล้ว
- เครื่องจักร จะต้องชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า ไม่ว่าจะนำเข้ามากี่ปีแล้วก็ตาม
- วัตถุดิบ ยอดคงเหลือตาม MML จะมีภาระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า
- ภาษีเงินได้ หากการยื่นใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ถูกต้อง จะไม่ถูกเรียกคืนภาษี


กรณีที่ 3 จะมีภาระภาษีมากที่สุด

หากเข้าข่ายกรณีนี้ ควรดำเนินการให้สามารถเปิดดำเนินการให้ได้ โดยการลดขนาดกิจการ เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนสถานะให้เป็นกรณีที่ 1 ครับ

Alisia โพสต์เมื่อวันพุธที่ 25 ธันวาคม 2562, 11:04:01 (225 สัปดาห์ ก่อน)
#2 Top

ระยะเวลาในการอนุมัติยกเลิกบัตรใช้เวลาเท่าไรคะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2562, 14:26:21 (225 สัปดาห์ ก่อน)
#3 Top

การยกเลิกบัตรส่งเสริม กำหนดเวลาพิจารณา 30 วันทำการ ครับ

Suji โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563, 16:45:39 (216 สัปดาห์ ก่อน)
#4 Top

เรียน แอดมิน

 

อยากยืนยันความเข้าใจ ว่าบริษัทฯ เข้าใจถูกต้องหรือไม่ค่ะ ดังนี้

1.       กรณียกเลิกโครงการ หากบริษัทฯมีความประสงค์จะส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ก่อนหรือหลังเปิดดำเนินการก็ตาม 

บริษัทฯ ต้องขอทำเรื่องส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศในระบบ EMT online ก่อน และหลังจากที่เจ้าหน้าที่อนุมัติให้ส่งคืน บริษัทฯ ไม่มีภาระภาษีย้อนหลัง เช่น ค่าอากรนำเข้า ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าปรับกรณียังไม่เปิดดำเนินการ เป็นต้น

 

2.       หากบริษัทฯต้องการยกเลิกโครงการ ซึ่งโครงการที่จะยกเลิกยังไม่เปิดดำเนินการ

บริษัทฯสามารถยื่นเรื่องเปิดดำเนินการก่อน แล้วจึงทำการยกเลิกโครงการได้ ไม่ถือว่าผิดระเบียบของสำนักงาน

เนื่องจากโครงการดังกล่าวนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาครบตามกระบวนการผลิตแล้ว และเพื่อให้ไม่มีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เคยใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีไปด้วย

 

3.       หากบริษัทฯต้องการยกเลิกโครงการ และจะจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ

3.1   หากเครื่องจักรเกิน 5 ปี ต้องทำเรื่องตัดบัญชีเครื่องจักรเกิน 5 ปี โดยไม่มีภาระภาษีก่อน จึงทำเรื่องขอจำหน่ายเครื่องจักร โดยไม่มีภาระภาษี ผ่านระบบ EMT Online

3.2   หากเครื่องจักรอายุไม่ถึง 5 ปี ต้องยื่นอนุญาตจำหน่าย โดยมีภาระภาษี ณ วันที่อนุญาตให้จำหน่าย ผ่านระบบ EMT Online

3.3   กรณีทำลายเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย ต้องเก็บรักษาเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายไว้ เพื่อให้ BOI หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ไปดำเนินการตรวจสอบสภาพก่อนการทำลาย และดำเนินการตัดบัญชีต่อไป

3.4   หลังจากที่เจ้าหน้าที่อนุมัติแล้ว สามารถจำหน่ายให้กับVendor ที่รับซื้อได้เลย (ไม่ต้องเป็น Vendor ที่ได้รับการอนุญาตจาก BOI)

 

4.       ข้อ 1-3 ที่กล่าวมา หากบริษัทฯ จะทำการยกเลิกโครงการ จะต้องแนบเอกสารต่างๆ เพื่อทำเรื่องยกเลิกบัตรส่งเสริม ดังนี้

4.1   เครื่องจักร แนบรายการตัดบัญชีเครื่องจักรเกินกว่า 5 ปีและไม่เกิน 5 ปี, กรณีมีการส่งคืน แนบเอกสารตัดบัญชีส่งคืนเครื่องจักร, กรณีจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ แนบเอกสารจำหน่ายเครื่องจักร ที่ทำในระบบ EMT onlineทั้งหมด

4.2   วัตถุดิบ แนบ MML Stockวัตถุดิบเป็น 0 จาก IC

4.3   ภาษีฯ แนบแบบคำขอใช้สิทธิ์และภงด.50 ปีล่าสุด กรณีที่มีการใช้สิทธิภาษี

 

รบกวนแอดมินตอบกลับด้วยค่ะ หากบริษัทฯเข้าใจข้อความนั้นผิดไปค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563, 17:02:18 (216 สัปดาห์ ก่อน)
#5 Top

ขออนุญาตไม่ตอบกระทู้ ในลักษณะของการยืนยันข้อความที่บริษัทเขียนมาครับ

แต่หากบริษัทต้องการสอบถามในประเด็นใด ยินดีให้คำตอบ ครับ

Suji โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563, 18:19:26 (216 สัปดาห์ ก่อน)
#6 Top

ขอบคุณค่ะ

SS โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 22 กันยายน 2563, 09:58:25 (187 สัปดาห์ ก่อน)
#7 Top

เรียน แอดมิน

ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ ในกรณีที่บริษัทได้รับบัตรส่งเสริม ITC (โครงการขยาย) วันครบเปิดดำเนินการคือวันที่ 4 ตุลาคม 2563

โดยที่ไม่เคยใช้สิทธินำเข้าเครื่องจักร / ยังไม่ได้ใช้สิทธินำเข้าวัตถุดิบ (MML ยังคงเต็มจำนวน) / ยังไม่มีรายได้ครั้งแรก

ทางบริษัทจะต้องดำเนินการอะไรบ้างหรือไม่คะ

ขอบคุณค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 22 กันยายน 2563, 11:52:01 (187 สัปดาห์ ก่อน)
#8 Top

1.กรณีไม่ประสงค์จะดำเนินธุรกิจตามที่ได้รับส่งเสริม ให้ยื่นขอยกเลิกบัตรส่งเสริม

ซึ่งตามกรณีที่สอบถาม ไม่น่าจะมีภาระภาษีอากรใดๆ ที่ต้องชำระคืน

แต่หากเป็นนิติบุคคลต่างชาติ จะต้องแก้ไขวัตถุประสงค์บริษัท เนื่องจากจะประกอบธุรกิจตามขอบข่ายที่ได้รับส่งเสริมต่อไปไม่ได้

2,กรณีประสงค์จะดำเนินธุรกิจตามที่ได้รับส่งเสริมต่อไป สามารถยื่นขอขยายเวลาการเปิดดำเนินการได้ 1 ครั้ง (1 ปี)

โดยต้องแสดงแผนการลงทุนว่า จะสามารถลงทุนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้ ภายในช่วงเวลาที่ขอขยายเปิดดำเนินการ ครับ

unknown[233] โพสต์เมื่อวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563, 10:49:46 (180 สัปดาห์ ก่อน)
#9 Top

เรียนAdmin,

บริษัทฯมีบัตรส่งเสริม ประเภทบัตร ITC ที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิใดๆจากบัตรนี้ ทั้ง Tax และ NON Tax  จะครบเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม 2564

หากบริษัทฯต้องการยกเลิกบัตร กรณีเช่นนี้บริษัทฯสามารถยื่นขอยกเลิกบัตรส่งเสริมได้โดยวิธีใดบ้างคะ

และต้องยื่นเอกสารอะไรบ้าง 

 

ขอบคุณค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563, 15:00:44 (180 สัปดาห์ ก่อน)
#10 Top

หากบริษัทไม่เคยใช้สิทธิใดๆ ทั้งด้าน Tax (เช่น ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ) และ non-Tax (เช่น ช่างต่างชาติ)

สามารถยื่นขอยกเลิกโครงการได้โดยไม่มีภาระใดๆทั้งสิ้น

ขั้นตอนเพียงแค่ยื่นจดหมายบริษัท ถึง BOI แจ้งขอยกเลิกโครงการตามบัตรส่งเสริมเลขที่ ..... โดยระบุว่าไม่เคยใช้สิทธิใดๆ ทั้งสิ้น ครับ

unknown[233] โพสต์เมื่อวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563, 16:44:27 (180 สัปดาห์ ก่อน)
#11 Top

เรียน Admin,

ขอบคุณมากค่ะ

 

Suji โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2563, 12:18:33 (176 สัปดาห์ ก่อน)
#12 Top

สอบถามเรื่อง การยกเลิกโครงการ ดังนี้ค่ะ

  • เนื่องจากบริษัทฯ มีหลายบัตรส่งเสริม แต่จะมี 2 โครงการ ที่จะทำการยกเลิกบัตรฯค่ะ
  1. บัตรฯที่ 1 เปิดดำเนินการแล้ว ตัดบัญชีเครื่องจักรปลอดภาระภาษี ในระบบ EMT แล้ว (สิ้นสุดสิทธิทางด้านภาษีฯแล้ว)
  2. บัตรฯที่ 2 เปิดดำเนินการแล้ว เครื่องจักรยังไม่ถึง 5 ปี (ยังไม่สิ้นสุดสิทธิทางด้านภาษีฯ)

หากต้องการผลิตต่อโดยไม่ใช้สิทธิประโยชน์ของ BOI แล้ว บริษัทฯจะทำได้หรือไม่ และจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2563, 15:02:10 (176 สัปดาห์ ก่อน)
#13 Top

การยกเลิกบัตรส่งเสริม เป็นเพียงการยกเลิกสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขตามที่ได้รับการส่งเสริมตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน

แต่บริษัทยังคงประกอบธุรกิจนั้นต่อไปได้ หากไม่ขัดกับกฎหมายของหน่วยงานราชการอื่น

1.บัตรที่ 1 ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และตัดบัญชีเครื่องจักรที่นำเข้าเกิน 5 ปีครบหมดแล้ว

- หากยกเลิกบัตรส่งเสริม จะยังคงใช้เครื่องจักรนั้นต่อไปได้ โดยไม่มีภาระภาษี

- วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 ที่ยังเหลือค้างในบัญชี จะต้องตัดบัญชี/ส่งออก/หรือชำระภาษี เพื่อตัดบัญชีให้เป็น 0

- ช่างฝีมือต่างชาติ จะสิ้นสุดสิทธิการอนุญาตทำงานและการอยู่ในประเทศ

- ที่ดิน หากถือครองกรรมสิทธิที่ดินตามมาตรา 27 จะสิ้นสุดสิทธิการถือครองกรรมสิทธิที่ดิน

2.บัตรที่ 2 ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัดบัญชีเครื่องจักรเนื่องจากยังนำเข้ามาไม่ครบ 5 ปี

- หากยกเลิกบัตรส่งเสริม จะต้องชำระภาษีอากรเครื่องจักรตามสภาพ ณ วันที่ BOI อนุญาตให้ชำระภาษี

- วัตถุดิบ / ช่างฝีมือต่างชาติ / ที่ดิน ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับคำตอบข้อ 1 ครับ

Suji โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563, 09:47:01 (176 สัปดาห์ ก่อน)
#14 Top

คำถามเพิ่มเติม

ในกรณีของบัตรที่ 2 หากยกเลิกบัตรส่งเสริม และชำระภาษีอากรเครื่องจักรตามสภาพ ณ วันที่ BOI อนุญาตให้ชำระภาษีแล้ว 

จะยังคงใช้เครื่องจักรนั้นต่อไปได้ เหมือนบัตรที่ 1 ได้หรือไม่ค่ะ?

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563, 16:22:19 (176 สัปดาห์ ก่อน)
#15 Top

เมื่อชำระภาษีอากรเครื่องจักร และยกเลิกบัตรส่งเสริมแล้ว บริษัทยังคงสามารถใช้เครื่องจักรนั้นในธุรกิจของบริษัทต่อไปได้

แต่จะต้องไม่นำไปใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริม (หากยังมีบัตรฉบับอื่นอีก) ครับ

Suji โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2563, 17:38:16 (175 สัปดาห์ ก่อน)
#16 Top

ขอบคุณมากค่ะ

SS โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2564, 13:44:00 (170 สัปดาห์ ก่อน)
#17 Top

เรียน แอดมิน

หลังจากที่บริษัทขอยกเลิกบัตรส่งเสริมกับทาง BOI และได้หนังสือยกเลิกบัตรส่งเสริมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทางบริษัทฯ ต้องดำเนินการอะไรกับทาง IC ด้วยหรือไม่คะ

ในกรณีที่ยังไม่ได้เปิดดำเนินการ ไม่เคยใช้สิทธิ์ Tax & Non-Tax ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2564, 15:02:42 (170 สัปดาห์ ก่อน)
#18 Top

หลังจากได้รับอนุมัติยกเลิกบัตรส่งเสริมจาก BOI แล้ว ไม่ต้องดำเนินการใดๆเกี่ยวกับ IC ครับ

pang โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2564, 08:37:12 (160 สัปดาห์ ก่อน)
#19 Top

สอบถาม Admin  ค่ะ

บริษัทจะยกเลิกบัตรส่งเสริม เนื่องจากจะปิดบริษัทค่ะ บริษัทจะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ

- บริษัทเปิดดำเนินการแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

<< ก่อนหน้า       1 | 2       ถัดไป >>

ถ้าหากคุณต้องการโพสต์ในกระทู้นี้ กรุณา ลงชื่อเข้าใช้ หรือ ลงทะเบียนใช้งานเว็บบอร์ด